คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม           ส   ห     

ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -  ช   )
 
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ช  )


 

ชง      (ก.)  งง  ( ทำอะไรไม่ถูก ตัดสินใจไม่ได้ )

ชะ ,  ตร้า    (น.)  ตะกร้า

ช็องด็อง  (ว.) ดื้อรั้น,  ทำในสิ่งคนทั่วไปไม่ทำ

ชันชี    (ม. - janji )  (ก.)  ตกลง, สัญญา
     
"เรามา
ชันชีกันก่อน"  -  เรามาตกลงกันก่อน

     
ตัวอย่าง เพลงร้องเรือ หรือเพลงกล่อมเด็ก ของปักษ์ใต้ ที่ใช้คำว่า   ชันชี

            อ้า เห้อ เหอ                แค้นใจ เหอ   
      จะถีบลูกไดเสียให้หัก         ไม่เหมือนแรกรัก
แรกชันชี
      น้ำเต้าไม่ทันแตกยอด         บ่าวน้อยผมสอด ถอยหลังหนี
      ไม่เหมือนแรกรัก แรกชันชี   เสียที่ทีรัก เห้อ เหอกัน

     
" ลูกได "  = ขั้นบันได   " แรกชันชี = คำสัญญาเมื่อก่อน  " น้ำเต้า " = ฟักทอง

ชับ   (ออกเสียงเป็น  ฉับ) (ว.)  แน่น , แข็งแรง,  ชำนาญ
       
" จับขวาน ต้องจับให้ชับ  = จับขวาน ต้องจับให้แน่น
       
" น้องไม่หาญขับ น้องขับรถไม่ชับ " =  น้องไม่กล้าขับ น้องขับรถไม่เก่ง
                                                            (ไม่ชำนาญ)
ชับชึก  
(ออกเสียงเป็น  ฉับฉึก) (ว.)   แข็งแรงมาก  
       
" น้องบ่าวคนนี้ อยู่ชับชึก " =  น้องชายคนนี้ รูปร่างแข็งแรงล่ำบึ๊ก

ชา,  ชาเด็ก   (ก.)  กล่อมเด็กให้หลับ
        
"
ร้องเรือชาเด็ก "  = ร้องเพลงกล่อมเด็กให้หลับนอน
       คนไทยถิ่น
ใต้ดั้งเดิม จะมีเลงกล่อมเด็ก ที่มีเอกลักษณเฉพาะ   โดยทั่วไปจะมีคำ
       ขึ้นต้นว่า
อ่า.. เอ้อ.. เหอ   ซึ่งมีชื่อเรียกว่า 
เพลงร้องเรือ
   
      
ดูข้อมูลเกี่ยวกับ เพลงร้องเรือ  เพิ่มเติม จาก  เวบไซท์ พิพิธภัณฑ์เมืองนคร

ช้างท้อง,  ถ่างท้อ( น.) ช่องหูอักเสบ เรื้อรัง มีน้ำหนองไหล และมีกลิ่นเหม็น มักจะ
       เป็นกับเด็กๆที่เล่นน้ำในห้วยหนองคลองบึงที่มีน้ำสกปรกเรียกว่า
"หูเป็นช้างท้อง"
      
หรือ " หูเป็นถ่างท้อง "
     ( ภาษาสงขลา - คลองหอยโข่ง ใช้ได้ทั้ง ช้างท้อง และ
ถ่างท้อ  คำนี้ในบางถิ่น
      จะออกเสียงเป็น
 
" หูเป็นถ่างทื่ง " )

ช่าย    (ว.)  หลังเที่ยง
         
" มาถึง หวันช่ายแล้ว " - มาถึงเมื่อเวลาบ่ายแล้ว 
            ( ให้เปรียบเทียบกับวลี " ตะวันชายบ่ายคล้อย " )

ชาม   (น.) คำนี้ ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) ดั่งเดิม    จะใช้ในความหมาย  "จาน " 
         (
ภาชนะรูปแบนๆ สําหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ)เช่น "ชามข้าว"จะหมายถึงจานใส่ข้าว
      
 ( ปัจจุบัน คำนี้ คงมีใช้อยู่บ้างเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ในกลุ่มคนรุ่นใหม่มักใช้คำ
         ว่า จาน  ตามภาษาไทยมาตรฐาน )

         
        
ข้อสังเกตุ ทั้ง
ภาชนะใส่ของที่มีปากงุ้มหรือโค้งเข้า (ชาม)และภาชนะรูปแบน ๆ
        ขนาดเล็กสําหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ (จาน)
ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)ดั่งเดิมจะ
        เรียกว่า ชาม เหมือนกันหมด

ชาด  (ออกเสียงเป็น ฉาด) 1.(อ.)  แหม - คำอุทานที่แสดงถึงความประหลาดใจ
        หรือผิดหวัง ไม่เป็นอย่างที่คิด
         
" ชาด เจ็บจังเสีย "  - แหม เจ็บจังเลย
       2.
(ว.) จริงๆ,  สุดๆ  (โคตร )  คำว่า ชาด นี้ ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) จะใช้เน้น
       ขยายความคำคุณศัพท์ วางไว้ข้างหน้าคำหรือหลังคำที่ต้องการเน้น ก็ได้
         
" ชาดใหญ่,   ใหญ่จัง ชาด " - ใหญ่จริง ใหญ่มากๆ
        
 " เบล่อจัง ชาด  น้ำพะใหญ่ ชาวบ้านอิตายกันหมดแล้ว, ไม่เห็นหน้า สส.ซักคน "
      
บ้าสุดๆ(โคตรบ้า,บ้าฉิบหาย) น้ำท่วมใหญ่ ชาวบ้านจะตายกันหมดแล้ว, ไม่เห็นหน้า
       สส
.ซักคนเลย

ชาวป่า  (น.) เงาะซาไก  กลุ่มชนดั่งเดิมที่อาศัยในเขตป่าเขาของภาคใต้      ในภาษา
        ไทยถิ่นใต้(สงขลา) จะเรียก เงาะซาไก 
ว่า 
ชาวป่า  หรือ  โหมฺเงาะ 
        (โหม ออกเสียง โม้
= หมู่ )
           
 ชาวป่า    เงาะซาไก (กลุ่มชนดั่งเดิมที่อาศัยในเขตป่าเขา)
            
โหมฺป่า (โม้ปา) =  คอมมิวนิสต์ (คนในพื้นราบที่อาศัยในเขตป่าเขา ด้วย
                                       เหตุผลทาง การเมือง

ชิ ,  ฉิ   (อ.)  คนสงขลา(คลองหอยโข่ง) จะไล่หมาด้วยเสียงนี้      ชิ  หรือ   ฉิ
        ในขณะที่คนสงขลา (ริมทะเล) จะใช้ เป็น   
แฉะ   หรือ  แฉ

ชิน  (น. ดวงไฟประหลาดสีขาวขุ่น  ที่มักล่องลอยอยู่ในบริเวณป่า  หรือในบริเวณ
      สถานที่รกร้างในตอนกลางคืน

       
คนปักษ์ใต้สมัยก่อน เชื่อว่า เป็นดวงวิญญาณชั้นต่ำ ที่ประกอบแต่กรรมชั่วในภพ
        ที่แล้ว  เมื่อละสังขารไปก็มาเกิดเป็นดวงไฟ ที่ล่องลอยวนเวียน ไม่ได้ผุดได้เกิด
        เรียกว่า "ชิน" บริเวณที่พบ  "ชิน" ลอยวนเวียน มักจะมีลานบนพื้นดินที่เตียนเป็น
        วงไม่มีหญ้าขึ้น เรียกว่า  "ลานชิน"   คนปักษ์ใต้สมัยก่อน เชื่อว่า  ถ้าใครพบเห็น
        "ชิน"แล้ว ชี้ด้วยนิ้วเพื่อบอกผู้อื่น  จะทำให้ผู้ชี้ประสบแต่เรื่องร้ายๆ ไม่เป็นมงคล
       
(ในมุมมองของคนรุ่นใหม่  "ชิน" อาจเป็นเพียงกลุ่มแก๊สเรืองแสงที่เกิดจากการ
        ย่อยสลายของใบไม้ที่ทับถม)

เช่น , แช่น  (ว.)  ฉลาดหลักแหลม 
         
" ไอ้บ่าวนี้ มันเช่น  - ไอ้หนุ่มนี้มันฉลาด

เชาะ   (ก.)  เอาเชือก 2 เส้น มาผูกปลายให้ติดกัน
          (ในบางท้องถิ่น จะออกเสียงเป็น  ช่อ
, ชก )
     
 " เชาะโหม้ง " - มัดหรือผูกให้เป็นปม มักใช้ในกรณีเด็กเล็กๆนุ่งกางเกงตัวใหญ่ซึ่ง
       มักจะเป็นกางเกงของพี่ๆ จึงจำเป็นต้องรวมขอบกางเกงข้างๆมามัดให้เป็นปม กางเกง
       จะได้ไม่หลุด

แช     (ว.)   ช้า      " ไส่แชจัง  กูท่าตั้งนาน " - ทำไมช้าจัง กูรอตั้งนาน

ชั้งกั้ง  (ว.เกะกะ, ขวางหูขวางตา คำว่าชังกั้ง คำนี้เป็นคำที่ผู้ใหญ่พูดถึงเด็ก ที่ไม่ถึง
        กับเกเร อาจเป็นเด็กที่ทะเล้น ทะลึง แต่ไม่ทำให้ใครเสียหาย

         
" ไอ้บ่าวนี้ชั้งกั้งจัง "
  -  ไอ้หนุ่มนี้ทำอะไรเพี้ยนๆขวางหูขวางตาจัง
        ( บางครั้ง จะใช้คำว่า ช็องด็อง ก็ได้ มีความหมายเดียวกัน )

ชั้น,  สายชั้น   (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น  ฉั่น,  ซ้ายฉั่น) (น.)  ปิ่นโต (ใส่อาหาร) 

ชุมโผ่, ชมโผ่  (น.)  ฝรั่ง,  ไม้ผลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE   ชื่อวิทยาศาสตร์
      
Psidium guajava L. )   คนไทยถิ่นใต้-สงขลา  จะเรียกไม้ผลชนิดนี้ว่า ชมพู่
       (ออกเสียงเป็น
ชุมโผ่, ชมโผ่)  ในบางท้องถิ่นของปักษ์ใต้ จะเรียกว่า ยาหมู
      
(มาจากคำว่า  jambu ในภาษามลายู )

       
      ชมพู่ ของคนสงขลา ( ออกเสียงเป็น ชุมโผ่  หรือ  ชมโผ่ )


ชุมโผ่ ยาหวัน  
(น.)  ชมพู่เหมี่ยว    ( ไม้ผลชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์  MYRTACEAE ชื่อ
       วิทยาศาสตร์
Eugenia malaccensis Linn.) คนไทยถิ่นใต้-สงขลา เรียกไม้ผล
       ชนิดนี้ว่า  ชมพู่ ยาหวัน หรือ
ชุมโผ่ ยาหวัน
       
       
       ชมพู่ ยาหวัน ของคนสงขลา   ( ออกเสียงเป็น ชุมโผ่ ยาหวัน )

ชุ่น   (ว.)  กริยาอาการที่ อยู่นิ่งๆ  ซึมเซา( ภาษาสงขลา - คลองหอยโข่ง) 
        ปักษ์ใต้ท้องถิ่น
อื่นจะใช้คำนี้ในความหมาย
ตรงกันข้าม คือ กระวนกระวายอยู่ไม่นิ่ง

เชี่ยน  (น.)  ภาชนะใส่หมากพลู
         
" เบี้ยใต้เชี่ยน "   -  เงินจำนวนไม่มาก ที่เก็บไว้ใช้ส่วนตัวของคนเฒ่า คนแก่
         
" เล่นเชี่ยน " - การกระทำที่ไม่เหมาะไม่ควร ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง

เชียด   (ออกเสียงเป็น เฉียด 1. (น.  อบเชยป่า ;  พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง
        
 2.  เชือด,  ใช้ของมีคม ตัดให้ลึกเข้าไปในเนื้อ
       
 (สำเนียงสงขลาจะแปลงเสียง เอีอ เป็นเสียง เอีย,     คำตายหรือคำที่ออกเสียง
         สั้นที่เป็นอักษรต่ำ ในสำเนียงสงขลาจะออกเสียงเป็นคำตายอักษรสูง      ดังนั้น
         เชือด จึงถูกแปลงเป็น เชียด แต่ออกเสียงสำเนียงสงขลาเป็น  เฉียด )
       

          "
ไก่ทองร้องว่า เชียดข้าทำไม ไว้เชียดคอไก่ ขันไม่ทันหวาง"
                                                   
 (เพลงร้องเรือ:ไก่ขันแจ้ว)

เชื่อม  1. (ก.) (ออกเสียงเป็น เฉื่อม) ทำให้ติดกัน ประสานกัน ( ความหมายเดียวกัน
         กับความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน)
         
2. (ว.)  เหม่อลอย , ไม่เต็มเต็ง , ไม่เต็มบาท
          
" ไอ้บ่าวนี้ เชื่อม ๆจัง  น่าจะส่งโรงพยาบาลประสาทได้แล้ว "
           -
ไอ้หนุ่มนี้เหม่อลอยไม่ค่อยเต็มเต็ง  น่าจะส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลประสาท
        ได้แล้ว

เชือน   (ก.) ฟั่นเฟือน, หลงลืม

โชน    1. (น.) พันธุ์ไม้ตระกูลเฟร์น ชนิดหนึ่ง
         
2. (ว.)  หมดอายุ เพราะถูกความชื้น จนใช้การไม่ได้          คำนี้มักใช้กับถ่าน

         อะเซติลีน (ถ่านหิน -ที่ใช้ในตะเกียงแก๊สของชาวสวนยาง)ที่ถูกความชื้นจนหมด
         แก๊สแล้ว    
 "ถ่านหินโชนหมดแล้ว"

ไช     (ก.)  ต่อย     ( ใช้กับสัตว์จำพวกแมลง )
         
 
ต้อไช   -    ตัวต่อ ต่อย      ผึ้งไช    -   ผึ้งต่อย

      ตัวอย่าง การใช้คำว่า ไช ที่มีในวรรณกรรมถิ่นใต้   

      หัวเปนลูกกะโท   รองราวเมโฉ   ไครย รูสิงใดย   รูแลว ยาเนง    เรงหามาไวย
      บางวาตอไช  เขาใสยขีควาย 

                                               จาก วรรณกรรมถิ่นใต้   " สีทน่นไชย "
      แปลงเป็น ภาษาไทย ปัจจุบัน  ดังนี้

       
      หัวเป็นลูกกะโท    ร้องราวเหม่ โฉ  ใครรู้สิ่งใด     รู้แล้วอย่าเหน่ง    เร่งหามาไว
      บ้างว่าต้อไช  เขาใส่ขี้ควาย
                                                จาก วรรณกรรมถิ่นใต้     ศรีธนนไชย

      ( ภูมิปัญญาท้องถิ่นของ คนไทยถิ่นใต้  กรณีที่โดนตัวต่อ ต่อย ให้เอาขี้วัวหรือขี้
      ควายสดๆ มาโปะปิดทับบริเวณที่ถูกต่อย  ขี้วัวหรือขี้ควายสด เป็นยาเย็น จะช่วยดับ
      พิษ บรรเทาอาการปวดได้  (ในกรณีที่ถูกต่อยครั้งเดียว) แต่หากโดนรุมต่อย ให้รีบ
      นำส่งโรงพยาบาล )

      หมายเหตุ ในภาษาไทยถิ่นใต้  หากสัตว์ทำร้ายคน จะใช้คำหลักๆ อยู่ 2 คำ  คือ
     
ไช และ ขบ (ข็อบ) ตัวอย่างเช่น
         
   แมงโภ่ไช  - แมงภู่ต่อย 
             ผึ้งไช    -
  ผึ้งต่อย
            
ต้อไช   -    ตัวต่อ ต่อย
           
 หมาขบ   หมากัด
           
 เสือขบ   -   เสือกัด

ใช้   (ก.) สั่งให้ทำ, บังคับ, ตอบแทน, ชำระ, (ความหมายตรงกับความหมายในภาษา
       ไทยภาคกลาง)
          
" ใช้ชาติ "  ความหมายในสำนวนถิ่นใต้ คือ ชดใช้หนี้กรรมที่ทำไว้ ทั้งในชาตินี้
       หรือชาติหน้า

 


       กลับไปหน้าแรก                                                 หน้าถัดไป    
 


หมายเหตุ
 

   ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท         อ.    =     อุทาน
     .      =   ภาษาจีน     .    =     ภาษามลายู

       เพื่อโปรดทราบ   -   เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่งเป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่นรวม
ทั้งสำเนียง
ภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
   มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 


  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549        ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 23/06/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 

 



 

ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปหน้าบท
หนังตะลุง : ศิลปะถิ่นใต้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting