คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -  ป )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ป )


หมายเหตุเสียง ป. - อักษรกลางในสำเนียงใต้(สงขลา) จะมีฐานเสียงเป็นเสียง
                  จัตวา เช่น
                   
       ปาใด (เวลาเท่าไหร่)     จะออกเสียง เป็น   ป๋าใด๋
                          เปรว ( ป่าช้า ที่เผาศพ )     จะออกเสียง เป็น    เปร๋ว
                 

ปก  (ว.) เสียงดังเบาๆ ,เสียงดังแผะ
     
 
“น้ำตาย้อยดังปก”  - น้ำตาหยดดังแผะ

ปอ    (น)  โป (การพนัน)

ปละตีน , ประตีน   (น. ทิศเหนือ,  ฝ่ายเหนือ
      
" ล่ามวัวไว้ที่หนำ ประตีนคลอง "  - ล่ามวัวไว้ที่ขนำ ทางทิศเหนือของคลอง

ปละหัวนอน , ประหัวนอน   (น.) ทิศใต้ ,   ฝ่ายใต้
       
" อยู่ที่ต้นหมาก หัวนอนเริ่น " 
อยู่ที่ต้นหมาก ทางทิศใต้ของบ้าน(ของเรือน)

ปลาคลัก (ออกเสียงเป็น ปลา คลั่ก) (น.) ปลาในหน้าแล้ง ที่น้ำในบ่อในหนองงวดแห้ง
     
 จนฝูงปลาทั้งหมด ต้องกระเสือกกระสนไปรวมกันในแอ่งน้ำที่ลึกที่สุด  แต่ในที่สุด
       ปลาทุกตัว ก็จะแห้งตายเป็นเหยื่อของมด
แมลง หากไม่มีฝนตก  ปลาที่มารวมกัน
     
 ในแอ่งน้ำ (แอ่งโคลน)  นี้   เรียกว่า
ปลาคลัก หรือ ลูกคลัก

       ข้อสังเกต - คำว่า ปลาคลัก ในภาษาไทยถิ่นใต้-สงขลา คำนี้ จะใกล้เคียงกับคำ
       ว่า  "
ปลาต๊กคลั่ก" ของคนลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร  ซึ่งใช้ในความหมาย
      
ปลาที่อยู่ในหนองน้ำใกล้จะแห้ง เช่นกัน
     
ข้อมูลอ้างอิง : เวบไซท์ รายการโทรทัศน์วัฒนธรรม โดยนายสันติ อภัยราช 

ปลาดุหยง  (น) ปลาพะยูน หรือ พะยูน,    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ใน
       ทะเล  ( ตุหยง, ปลาตุหยง เป็นคำที่คนไทยถิ่นใต้ฝั่งอันดามันใช้เรียกสัตว์ชนิดนี้ )

ปลาปิหลัง   (น) ปลาดุกทะเล

ปลายสาร  (น)  ปลายหักๆของข้าวสารที่ได้จากการตำข้าว หรือสีข้าวด้วยครกสีข้าว
        แบบโบราณ  "ปลายสาร"จะปนมามากบ้างน้อยบ้างกับข้าวสาร ซึ่งจะต้องเก็บออก
        ก่อนเอาข้าวสารไปหุง

ปลิ้น   1. (ก.) โกง  คำนี้ มักใช้ในกรณี ยืมเงินแล้วไม่คืนแก่เจ้าของ หรือรับเงินค่าจ้าง
       ล่วงหน้าแล้ว แต่ไม่ทำงานและเงินที่ได้ไปแล้วก็ไม่คืนแก่ผู้ว่าจ้าง
       2.
 (ว. ลักษณะสิ่งของที่กลับเอาข้างใน ออกมาข้างนอก

ปล้ำ    1. (ก.) ปล้ำ , ใช้แขนกำลังกอดรัดเพื่อล้มฝ่ายตรงข้าม  
        
 2. (ก.) เข้าไปยุ่งเกี่ยว หรือ เข้าไปทำงานอย่างสุดกำลังเพื่อให้งานสำเร็จ  เช่น
               
" ปล้ำเอาไส่ "  จะหมายถึง  เข้าไปยุ่ง, เข้าไปแส่หาเรื่องทำไม
               
" กูไม่ปล้ำ "     จะหมายถึง  กูไม่เกี่ยว, กูไม่ทำ

ป๋อง   1. (น.)  กระป๋อง ( คำนี้คนสงขลา-คลองหอยโข่งจะออกเสียงจัตวา ในบางท้อง
        ถิ่นจะออกเสียงโทเป็น  ป้อง
)    
" ปลาป๋อง "  -  ปลากระป๋อง
        
2. (น.)  ดินโป่ง ดินเค็ม(ที่สัตว์ป่าชอบกิน)
                    
" ทุ่งป๋อง " - ทุ่งที่มีดินโป่ง
                    
" นาป๋อง " - นาที่มีดินโป่ง

ปอด(ก.) ขี้ขลาด   (น.) 1.วัยวะภายในของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ใช้ในการฟอก
          โลหิต  
2. ปี๊บ, ภาชนะโลหะรูปสี่เหลี่ยม  ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) จะเรียกว่า
           ปอด  เช่น 
" ปอดน้ำมันก้าด "  - ปี๊บใส่น้ำมันก้าด
        
 " พ่อ ไปหลาดแล้ว  เส่อ หนมก้อทึ่ง มาให้อีสาว สัก ปอด นะ "  ความหมาย
          คือ  พ่อ ไปตลาดแล้ว  ซื้อขนมตุ๊บตั๊บ มาให้ลูกสาว สักป๊บ นะ

ปอดแย๊ด (ว.)ไม่สมบูรณ์ ,ไม่แข็งแรง , ขี้โรค 

ป้อย  (น.) อุปกรณ์(ภาชนะ)วงข้าวสารกรอกหม้อ มักทำจาก กะลามะพร้าว ตาเดียว
         ตัวอย่างเช่น
        "อีสาว  วันนี้พ่อมึงไปนอนวัด   อยู่กันสองคน หุงข้าวสัก สอง ป้อย กะพอ"
          

ปักกำ (น.) ธรรมเนียมของชนบทปักษ์ใต้สมัยก่อน  หากต้องการจะแสดงให้ผู้อื่นหรือ
         คนที่ผ่านทางทราบว่า หนองน้ำแอ่งน้ำกลางทุ่งนา หรือ แอ่งน้ำ ตามคูคลองใน
         หน้าแล้ง ที่มีปลามารวมกันนั้น  มีเจ้าของ ห้ามไม่ให้ใครวิดหรือลงไปจับปลาก็จะ
         ตัดไม้ปักลงตรงจุดที่หวงห้าม ปลายไม้ที่ปักนั้น จะใช้มีดผ่า นำใบไม้กำมือใหญ่ๆ
         เสียบไว้  ไม้ที่ปักและมีใบไม้เสียบอยู่นี้  เรียกว่า 
ปักกำ  ในสมัยก่อน คนที่เห็น
         สัญลักษณ์นี้แล้ว จะมีความเกรงใจ ไม่ลงจับปลา ตรงที่มี   ปักกำ โดยเด็ดขาด

        ( ปัจจุบัน ความศักดิ์สิทธิ์ของ ปักกำ หรือความเกรงอกเกรงใจ เจ้าของปักกำได้
        หมดไปแล้ว  ยังคงใช้ได้เฉพาะ ในเขตชนบท หรือ เขตริมเขา ริมควนที่ห่างไกล
        เท่านั้น )

ปัดปัด (ว.) อาการอยู่ไม่สุข นั่ง นิ่งๆ ไม่ได้ ก็ต้องทำนั้นทำนี้  หรือไม่ก็กระวนกระวาย
         กังวลในบางเรื่อง จนอยู่ไม่ติด

ปั้นเตียว (ว.) ลักษณะการนุ่งโสร่ง หรือผ้าขาวม้า ที่ม้วนชายผ้าให้แน่น สอดระหว่างขา
        เอาชายผ้า เหน็บไว้ข้างหลัง (ตรงกระเบนเหน็บ) เพื่อเตรียมพร้อมขึ้นต้นไม้ หรือ
        ทำงานที่ต้องการความคล่องตัว

ปากจาบ, แตกปากจาบ  (ว.) เปิดอ้าออกเล็กน้อย,  ลักษณะการปริแตกของเปลือก
      ไข่ ในขณะที่ลูกไก่เริ่มจะเป็นตัว
        
" ไข่พอแตกปากจาบ " - สำนวนไทยถิ่นใต้ หมายถึง เด็กชายที่เริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม
      
หรืออยู่ในช่วงที่หนังหุ้มปลายองคชาติ เริ่มขยายเริ่มปริ เรียกว่า พอแตกปากจาบ
       ซึ่งยังไม่พร้อม หรือยังไม่ได้เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว
      
 " ไข่พอแตกปากจาบ  กะคิดอิหาเมียแล้ว แล้วเอาไอไหรกินละ "    ความหมาย
       ประโยคนี้ คือ เพิ่งจะเริ่มเป็นหนุ่ม ก็คิดจะหาเมียแล้ว แล้วจะทำมาหากิน อะไร

ปากตู   (น.)  ประตู

ป้างแทงหมก   (น. อาการเจ็บจุกเสียดท้อง (ที่เกิดจากการออกกำลังเกินไป)  บาง
          ท้องถิ่น จะใช้เป็น  
ก้างแทงหมก

ปางนู    (น.)    หนังสติ๊ก  ( อาวุธประจำกายของเด็กๆ ลิงทะโมนทั้งหลาย )

ปาบ   (น.)  พันธุ์ไม้ตระกูลมะม่วง ชนิดหนึ่ง  เป็นไม้ป่าที่มีขนาดสูง ใหญ่
         (ปัจจุบัน หาได้ยากมาก คงมีเฉพาะในชื่อสถานที่ เช่น   วัดต้นปาบ  (วัดพระบาท
          บ้านพรุ หาดใหญ่ )  บ้านทุ่งปาบ  (คลองแห  หาดใหญ่ )

ปาใด  (ว.) เวลาเท่าไหร่แล้ว เช่น
          
" นากา ปาใด "   -  าฬิกา เวลาเท่าไหร่    (นากา =าฬิกา)
          
" พี่หลวงมาถึงปาใด " -  พี่หลวงมาถึงเมื่อไหร่ (คำถามนี้เน้น อยากรู้เวลาที่
      มาถึงจริง  คำตอบ คือ 
" พี่มาถึง แรก ตีแปด "  พี่มาถึงเมื่อ 8 นาฬิกา(ที่ผ่านมา)
         
" พี่หลวงมาถึงเม่อใด" -พี่หลวงมาถึงเมื่อไหร่ (คำถามนี้ไม่ได้เน้นเวลาที่ชัดเจน)
       คำตอบ คือ 
" พี่มาถึง แรกเช้า "  - พี่มาถึงเมื่อตอนเช้า(ที่ผ่านมา)

      หมายเหตุ : ดูคำอธิบาย คำว่า   เม่อใด,   แรก,    และ   ต่อ    เพิ่มเติมด้วย

ป่ากัน (น.) ป่าละเมาะที่มีต้นไม้ขึ้นเป็นหย่อมๆ  เกิดจากการทำไร่แบบเลื่อนลอย
        แล้วปล่อยทิ้งไว้หลายปี ("ป่ากัน" พอจะเป็นที่เล่นซ่อนหาของเด็กๆได้ เนื่องจาก
        ไม่รกมาก)

ป่าโปะ (น.)  ป่าไม้ที่มีเถาวัลย์และต้นไม้เล็กๆขึ้นรก เกิดจากการโค่นถางทั้งต้นไม้เล็ก
        และต้นไม้ใหญ่เพื่อจะทำไร่ แต่ไม่ได้เผา   เมื่อทิ้งไว้ ป่าที่ถาง จะกลายเป็นป่าที่
        รกชัฏ เดินผ่านได้ยาก

ป่าไส (น. ป่าไม้ที่เคยถูกโค่นถางเพื่อทำไร่เลื่อนลอยเมื่อนานมาแล้ว  แต่ปัจจุบัน
  
     ได้ฟื้นตัว  กลับกลายเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง
  ป่าชนิดนี้ จะไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่
       สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง เนื่องจากได้ถูกโค่นไปหมดแล้ว  แต่จะ
       เหลือเฉพาะ ต้นไม้ใหญ่ดังเดิมที่ไม่มีราคา และต้นไม้ที่เติบโตทีหลัง ซึ่งมักจะเป็น
       ต้นไม้ประเภทโตเร็วหรือไม้เนื้ออ่อน  
ขึ้นอยู่ทั่วไป

      คำว่าไส นี้ ยังใช้เรียกสถานที่ในภาคใต้หลายแห่ง     เช่น ไสใหญ่  (ควนเนียง -
      สงขลา) ,      ไสถั่ว( พัทลุง ) ,    ไสยูงปัก (นาบอน นครศรีธรรมราช) ฯลฯ

ป้าหลัง  (ออกเสียงเป็น ป๊า-ลั้ง ) (ก.)   ป่วยการที่จะทำอย่างนั้น  มักใช้ในการพูดตัด
        บท เมื่อมีการร้องขอ ให้ทำอย่างนั้น อย่างนี้

ปิก   (ว.) คำขยายต่อท้ายคำว่า ดำ     เป็น  "ดำปิก"  - ดำมากๆ

ปิ้ง, จะปิ้ง   (น.)จับปิ้ง, ระจับปิ้ง  ใช้เรียกสิ่งที่ใช้ปิดรูเล็กๆ เช่น ลิ้นปิดรูกุญแจ  หรือ
       เครื่องคาดสะเอว ปกปิดอวัยวะเพศของเด็กหญิงเล็กๆ  อาจทำด้วยแผ่นกะลาหรือ
       โลหะ ก็ได้  ( ขึ้นอยู่กับฐานะการเงินของพ่อแม่เด็ก ) คำนี้มาจากภาษาโปรตุเกส 
       
Chaping

ปีบ, เปบ  (ก.)   ตะโกน ส่งเสียงดัง  
          
"หลวงขับ เมาแล้วหล่าว ได้ยินเสียงแก ปีบลั่นทุ่ง มาโด้"  
หลวงขับ เมาอีก
         แล้ว ได้ยินเสียงแก ตะโกนลั่นทุ่ง มาแล้วโน้น

เป็นสาวงาม     (น.)     โรคคางทูม

เป็นเย็น   (ว.)  เย็นชืด
          
“ข้าวเป็นเย็น”  -  ข้าวที่เย็นชืด( กินไม่อร่อย)

เปรว    (น.  ป่าช้า,  สถานที่เผาศพ
       
" เจ้าเปรว, ตากาหลา ยายกาหลี " - วิญญาณที่ดูแลป่าช้า(เปรว) ตามความเชื่อ
        ของคนไทยถิ่นใต้ 
       
" ตายทำแดกเปรว "
 -  ตายประชดป่าช้า ซึ่งมีแต่เสียไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
      
 " ฉีกขา กรวมเปรว "  -   ปิดบังความชั่วความไม่ดี ไม่ให้ผู้อื่นรู้,  กันท่าผู้อื่น 
        
      
ข้อสังเกตุ  ภาษาไทยล้านนาเรียก ป่าช้า  ว่า ป่าเฮ็ว (ป่าเฮ่ว )คือ ป่าที่ใครเข้าแล้ว
      ต้องออกมาเร็วๆ เพราะไม่ใช่สถานที่ไปเที่ยวเล่น  ป่าเฮ็ว
- ป่าเร็ว คำนี้เมื่อเทียบกับ
      ภาษาไทยถิ่นใต้ที่มักพูดเร็ว
" เปรว " ของคนไทยปักษ์ใต้กับ
ป่าเฮ็ว ของคนไทย
      ล้านนา จึงน่าจะมาจากต้นตอเดียวกัน

เปลือน  (ก.)  เปลี่ยน  
         
" บ่าวไข่นุ้ย นุ่งกางเกงยืนไม่ เปลือน มา 7 วันแล้ว "

เปี้ยว    1. (น.) หมวกของคนจีนทรงกลมยอดแหลมสานด้วยไม้ไผ่ 2 ชั้น  ตรงกลางจะ
        บุด้วยใบไผ่ คนปักษ์ใต้มักใช้สวมเวลาเก็บข้าวในนา 
 
           2. (น.
ใช้เรียกปูชนิดหนึ่ง ตัวเล็ก  

แป้งหวาน   (น.)    ผงชูรส

แป้งแดง (น.)ปลาหมักเกลือ(วิธีถนอมอาหารชนิดหนึ่งของคนไทยถิ่นใต้) ใส่สีแดง
         จึงเรียกว่า "
ปลาแป้งแดง "

แป็ดว (น. เป็ดเทศ 
        (สำเนียงสงขลา เป็ด ออกเสียงยาวเป็น  แป็ด ,  เจ็ด ออกเสียงยาวเป็น  แจ็ด )

แปะ    (ก.)  กริยาที่หมูขวิด   " อย่าเข้าไปในคอกหมูนะ เดี๋ยวถูกหมูแปะ "

ไปทุ่ง (ก.)  ไปถ่ายหนัก หรือ ถ่ายอุจาระ
         
"แล่นทุ่ง "   -   ท้องเสีย  (ต้องวิ่งไปถ่าย )

ไปมือสิบนิ้ว  -   ไปมือเปล่า  ไม่เอาอะไรไปเลย
         
" อิไปหานาย  เขาว่า ถ้าไปมือสิบนิ้ว นายเขาไม่รูจัก "
        ถ้าจะไปหาเจ้านาย  เขาว่า ถ้าไปมือเปล่าๆไม่มีอะไรติดไม้ติดมือ  เจ้านายเขาไม่
        รู้จักหรอก

 



หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท          อ.   =     อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .   =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เพื่อโปรดทราบ   -    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่ง
  เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวมทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติม เพื่อให้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น

 


     กลับไปหน้าแรก                                                             หน้าถัดไป   

 

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549    ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 09/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 

 



 

ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปเจ้าเมืองยักษ์ (ยักษ์หน้าเขียว)
หนังตะลุง : ศิลปะถิ่นใต้
 


หมายเหตุ
เพื่อให้เข้าใจ ระบบเสียงวรรณยุกต์ พยัญชนะ
และการผันเสียงของภาษาสงขลา   กรุณาเข้า
ไปอ่าน
1.  หน่วยเสียงพยัญชนะของภาษา
     สงขลา

2.
 เสียงวรรณยุกต์ในภาษาสงขลา
3.  เทียบเสียงวรรณยุกต์ ภาษา
     กรุงเทพฯ กับภาษาสงขลา

                  
 " คำบรรยายภาษาไทยขั้นสูงของชุมนุมภาษา
ไทยของคุรุสภา  ( จัดพิมพ์สำหรับสมาชิกของ
ชุมนุม) พิมพ์ที่ โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ  นาย
กำธร สถิรกุล  ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ๑๙ กรกฎาคม
 ๒๕๑๑      วิชานิรุกติศาสตร์เรื่องภาษาถิ่น
(ฉบับที่ ๑ -๒ ) นส
.ซ่อนกลิ่น  พิเศษสกลกิจ 
บรรยาย   หน้า ๗๘๐ - ๘๐๒ "

  

Free Web Hosting