บันทึก
ขนำริมทุ่งปลักเหม็ด
The Hut of Plugmet
A little bit of flora & language.

 

       

เกริ่นนำความเป็นมา

ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้  
ภาษาสงขลา โดยสังเขป อักษรขอมไทย
กรณีศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้ : ภาษาสงขลา ข้อมูลจาก e-mail
ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้ แหล่งข้อมูล อ้างอิง
เรื่องของคนรุ่นทวด หมายเหตุของผู้จัดทำ
       

 คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม           ส    ห     

ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด    จ   ฉ )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ฉ )


ฉอย,  ขอย (ก.)  สอย ให้ร่วงลงมา     ภาษาสงขลา-คลองหอยโข่ง จะเรียกไม้
         ที่ใช้สอยผลไม้ ว่า
ไม้ฉอย หรือไม้ขอย  

ฉ่อมๆ,  ส่อมๆ,  ส้มๆ   (.)  บ้าบอ, สติไม่ดี

ฉ็อง  (.) คำภาษาใต้ ใช้อธิบายลักษณะ กลิ่นที่รุนแรง เช่น กลิ่นแมงดา หรือ
        กลิ่นฉี่
"เหม็น ฉ็อง เยี่ยว"   =  เหม็นกลิ่นฉี่

ฉัด  ( ออกเสียงเป็น ชัด )  (ก.)  เตะ    (ใช้หลังเท้าเตะ)
        ในถิ่นใต้บางแห่ง(เช่น สุราษฎร์ฯ) จะใช้คำว่า เท้า
( ออกเสียงเป็น ท่าว )
        ในความหมายเดียวกัน

ฉับโผง   (น. ปืนเด็กเล่น ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เล็ก ๆ มีรูขนาดหลอดกาแฟ มี
        แกนคล้ายลูกสูบ สำหรับกระทุ้งยิง  โดยเอา
 ลูกพลา หรือกระดาษเหนียว
        แช่น้ำทำเป็นเม็ด
ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ ใช้ไม้กระทุ้งด้วยเม็ดที่สองจะทำให้
        อัดลม ดันเม็ดที่หนึ่งออกไปมีเสียงดังโพละ
ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)เรียก
        ว่า ฉับโผง หรือ บอกฉับโผง
       

       
( คนระยอง ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของอ่าวไทย เรียกปืนเด็กเล่น ชนิดนี้ว่า
       
กระบอกอีโพละ - ข้อมูลอ้างอิง สำนักงานวัฒนาธรรมจังหวัดระยอง )

ฉาด ( ออกเสียงเป็น ช้า )  (.)ไม่เหลืออะไร
       
 " แหม็ดฉาด "  =  หมด ไม่เหลืออะไรเลย
        
" เกลี้ยงฉาด " =   หมดเกลี้ยง ไม่เหลืออะไร

ฉาน (ออกเสียงเป็น ช้าน) (ส.ผม,ดิฉัน (สรรพนามบุรุษที่ 1) คำนี้ใช้ได้ทั้ง
        ชายและหญิง   ปัจจุบันมีคนพูดน้อยมาก  จะมีบ้างก็มักจะเป็นผู้สูงอายุ

ฉ่าน   เป็นคำที่ใช้ในความหมาย ตอบรับว่า   ถูกแล้ว  ใช่แล้ว   ครับ

ฉาบ ( ออกเสียงเป็น ช้าบ ) (ว.)  เกือบ    
        
" ฉาบหล่น "  = เกือบหล่น   
         
" ฉาบตาย "   = เกือบตาย

ฉาวหลาว  (ว.) โหวกเหวก,  อีงหมี่
        คำนี้ ในภาษาไทยถิ่นใต้ดั้งเดิม เป็นคำขยายความ ใช้ประกอบกับคำว่า
        เสียง เป็น   เ
สียงดัง ฉาวหลาว

ฉ้าย  (ก.)  บอกใบ้      " ฉ้ายเบอร์ "  = ใบ้หวย

ฉิ้งฉ้าย  (ก.)  อะลุ่มอล่วย,  ออมชอม ( เพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปก่อน )

ฉี  (ออกเสียงเป็น ชี้) (จ.),  (น.) พี่สาว,  เจ๊ (เป็นคำที่มาจากภาษาจีนใช้ในกลุ่ม
     คนไทยถิ่นใต้(สงขลา)ที่มีเชื้อสายจีนเช่น ชาวเกาะยอ, ชาวท่าจีน,ชาวคูเต่า)
     
" ฉีเหี้ยง บ้านคูเต่า "   ความหมายคือ  พี่เหี้ยง หรือ   เจ๊เฮียง บ้านคูเต่า

ฉีกเหงือก  (ออกเสียงเป็น ชีก เฮือก) (ก.) ดันทุรัง, ไม่ทำตามสั่ง

ฉีด,  ผักฉีด (ออกเสียงเป็น ชีด,  พัก ชีด )   (น.) กระเฉด,   ผักกระเฉด

ฉุก ( ออกเสียงเป็น ชุก)  (ก.)   ยุ   มักใช้กับหมา
         
" ฉุก หมาให้ยิกฮัว "  =  ยุหมาให้ไล่วัว

ฉุกหุก  (ว.)  ฉุกละหุก

ฉู้ด      (ก.)  กระฉูด  กระเด็น กระเซ็น
         
" น้ำฉู้ดใส่ " = น้ำกระเซ็นใส่

ฉุบ  (ก.) จอง, เอาก่อน,  ดูด
      
" สาวรำวงคนนี้ พี่หลวงฉุบแล้ว  โหม่สู อย่ามายุ่ง นะ " 
         สาวรำวงคนนี้  พี่จองแล้วนะ  พวกเอ็ง อย่ามายุ่ง
     
 " วันนี้ หลวงไข เซ่อ แกงหอยขม มาฝาก...   เราได้ฉุบหอย แล่วหล่าว "
         วันนี้ พี่ไข่ซื้อแกงหอยขม มาฝาก
    เราได้ดูดหอย กันอีกแล้ว

เฉียง (ออกเสียงเป็น เชี้ยง)(ก.)จาม, ฟันด้วยมีดใหญ่ (ขวาน, พร้า )ในภาษา
       ไทยถิ่นใต้ คำว่า เฉียง จะใช้ในความหมาย การฟันลงตรงๆ  เท่านั้น
         
" ใช้ขวานเฉียง "  = ใช้ขวานจาม
         
" ขวานเฉียงฟืน " = ขวานที่ใช้ผ่าฟืน
         
" ดานเฉียง "  เขียง (ไม้กระดานที่ใช้รองการสับ หั่น)

แฉ้   (ก.) ร่อน, ขว้างออกไปในแนวระนาบ มักใช้กับสิ่งของ รูปทรงแบนๆ เช่น
        จาน,   กระเบื้อง
      
" แฉ้เบื้องให้เฉียดน้ำ "  ร่อน(เศษ)กระเบื้อง(มุงหลังคา) ให้แฉลบน้ำ


แฉกแวก ฉายวาย  (ว.) ยุ่งเหยิง แตกแยก ระสำระสาย รวมกันไม่ติด
      
"หวางนี้ ชายแดนปักษ์ใต้ แฉกแวก ฉายวาย หมดแล้ว"
       เดี๋ยวนี้ ชายแดนปักษ์ใต้ มีแต่ความแตกแยก รวมกันไม่ติด (ความสงบที่
       เคยมี หมดสิ้นแล้ว)

แฉง  (น.) กะบัง  ส่วนของด้ามมีด/ด้ามดาบ กะบังไม่ให้ถูกมือ
            
"แฉงไฟ "= กะบังไฟ หรืออุปกรณ์ที่บังไม่ให้ไฟส่องกลับมายังผู้ถือ

แฉ็ง  (ก.) เปิดออก แล้วปิด
        
" แฉ็งไข "  กริยาของเด็กชายที่ซุกซน เล่นกับอวัยวะเพศ
       
" ไอ้บ่าว มึงอย่าแฉ็งไฟเล่น เดี่ยวถ่านหมด " = ไอ้หนูเอ็งอย่า เปิด ปิด
ไฟฉายเล่นเดี่ยวถ่าน
(ไฟฉาย) หมด

โฉ ๆ   (.) ด้วยกัน,  พร้อมๆกัน,
     
" เดินไปวัด โฉๆกัน " -  เดินไปวัดด้วยกัน (ไปด้วยกัน จะได้เป็นเพื่อนคุย)

โฉ้    (.)  ไม่ชัดเจน ไม่แน่ใจ ว่าเป็นอะไร  ( ใช้ในการขยายความคำถาม)
      
  " ไอไหรโฉ้ " = อะไรก็ไม่รู้
        
" ใครโฉ้ ยืนอยู่หลังบ้าน "   =  ใครก็ไม่รู้ ยืนอยู่หลังบ้าน
        
"  รู้สึกผรื่อโฉ้   รู้สึกอย่างไรก็ไม่รู้ ( รู้สึกไม่ค่อยจะปกติ แต่ไม่รู้ว่า
เป็นอะไร )

 



หมายเหตุ
 

   ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท         อ.    =     อุทาน
     .      =   ภาษาจีน     .    =     ภาษามลายู

เพื่อโปรดทราบ  -   เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด   ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่งเป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่นรวม
ทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
   มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัด
เจนยิ่งขึ้น


เอกสาร/แหล่งข้อมูล อ้างอิง


      กลับไปหน้าแรก                                         หน้าถัดไป    

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549      ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 28/08/2554

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Copyright © 2001-2011 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 
Free Web Hosting