เรื่องของคนรุ่นทวด  :
 

 

เรื่องของคนรุ่นทวด

เกริ่นเรื่องเก่าๆ


        นสมัยก่อน  ก่อนที่เทคโนโลยี่จากตะวันตกจะไหลทะลักกันเข้ามา หรืออาจจะกล่าวได้ว่า
ก่อนที่ประเทศไทยจะเริ่มประกาศใช้  "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(ฉบับที่
1) " ในสมัย
กึ่งพุทธกาล (พ
..2500) สังคมชนบทปักษ์ใต้ ยังคงเป็นสังคมที่เกี่ยวพันกัน เชื่อมโยงกัน ตามสาย
สัมพันธ์ในระบบเครือญาติและท้องถิ่นที่ตนเองสังกัด มโหรสพสำคัญของปักษ์ใต้ก็คงเป็น หนังตลุง
มโนราห์   ทุกปีเมื่อสิ้นหน้า
นาเก็บข้าวเสร็จ คนที่ถนัดทางศิลปะพื้นบ้านเล่นหนังตลุง หรือรำมโนราห์
เป็น ก็จะออกเดินทางแสดงเร่ไปที่ต่างๆ   และเมื่อถึงฤดูทำนา ก็จะเป็นช่วงที่ศิลปินทั้งหลาย จะต้อง
กลับบ้านเพื่อทำนาเลี้ยงครอบครัว    หนังตลุง มโนราห์ในสมัยก่อน  จะมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ระหว่าง
เดือนยี่ ถึงเดือนเจ็ด          การแข่งขันประชันโรงกัน  ระหว่างนายหนังตลุงชื่อดัง  ก็มีให้เห็นอยู่เป็น
ประจำ   สมัยนั้น หากมีการแข่งประชันโรงกันแล้ว  นายหนังจะต้องแสดงกันจนถึงรุ่งเช้า   ผู้ชมหน้า
โรงหนังตลุง ก็ไม่มีใครคิดจะกลับบ้านไปกรีดยาง   นั้นคือ  เมื่อจะดูหนังตลุง ก็จะไม่พูดถึงเรื่องงาน
วิถีชีวิตของผู้คน จะไม่มีการเร่งรีบทุกอย่างดำเนินไปอย่างเรียบง่าย เสียงขับกลอนหนังตลุงมโนราห์
มีให้ได้ยินตลอด   เด็กเลี้ยงวัวขับบทหน้งตลุง ขณะไล่วัวกลับบ้าน  คนทำน้ำตาลเมาขับบทโนราบน
ต้นตาล       บางครั้งที่เราอาจจะได้ยินเสียง เพลงลูกทุ่งสอดแทรกมาบ้าง    แต่สำหรับเพลงลูกกรุง
หรือเพลงฝรั่งเพลงสากลถ้าจะได้ยินก็จะมาจากบ้านของครู   หรือบ้านของผู้มีฐานะที่ส่งลูกหลานไป
เรียนในเมืองเท่านั้น

            ในช่วง ..2500 จนถึง ..2510    คนรุ่นพ่อในยุคนั้น   (หรือผู้เฒ่าผู้แก่ในยุคปัจจุบัน)
ถือตัวเชื่อมที่ส่งต่อวัฒนธรรมของปักษ์ใต้ยุคเก่า มาสู่ยุคใหม่ ขณะที่วัฒนธรรมจากส่วนกลางได้เริ่ม
ทะลักออกสู่ชนบทปักษ์ใต้
ในสมัยนั้นภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน บทกลอนหนังตลุง  บทกลอนโนรา
และมุขปาฐกต่างๆของคนสมัยก่อน ยังคงมีการถ่ายทอดบอกกล่าวมายังลูกหลานอยู่บ้าง  ก่อนที่จะ
เริ่มเลือนหายไปหลัง พ
..2510นถึงปัจจุบัน พ..2550  สิ่งทั้งหลายที่กล่าวมาเรียกได้ว่าได้หมด
สิ้นไปจากชนบทปักษ์ใต้  หากหลงเหลือก็คงอยู่ในตำรา,  บันทึกของผู้ที่สนใจ   หรือคงมีเพียงภาพ
เงาอยู่บ้าง  ก็เฉพาะในสถาบันการศึกษาเท่านั้น  ขณะที่ "วัฒนธรรมห้องอาหาร" รวมทั้งโรคร้ายสาร
พัด ได้เข้าไปแทนที่
ในทุกซอกทุกมุม  ..........    .........
 

         เพื่อเป็นการฉายภาพเงา เกี่ยวกับอดีตของปักษ์ใต้  ให้คนรุ่นปัจจุบันได้รับรู้อีกครั้ง  จึงขอนำ
เสนอมุขปาฐก
บทกลอนและสาระพันเรื่องราวในยุคกึ่งพุทธกาล    จากความทรงจำ และคำบอกเล่า
ของผู้เฒ่า
... บันทึกไว้ ณ ที่นี่ อีกครั้ง  แม้ว่าการนำเสนอนี้ จะโบราณย้อนยุคไปบ้าง แต่ก็เป็นบันทึก
สามัญชน ที่ลูกหลานปักษ์ใต้ยุคปัจจุบัน ไม่ควรมองข้าม
  .......   ........


บทสวดและตำรายาของทวด



   บทสวด "ไหว้ลายลักษณ์" [บทสวดของคนปักษ์ใต้สมัยก่อน ]

บทสวด "ไหว้ลายลักษณ์"ที่นำมาบันทึกไว้ ณ "ขนำริมทุ่งปลักเหม็ด" แห่งนี้  เป็นบทสวดสำคัญของ
คนปักษ์ใต้
สมัยก่อน ที่ใช้ในการสวดบูชาลายลักษณ์พระพุทธบาท 5 แห่ง  การสวดไหว้ลาบลักษณ์
เป็นประจำ
คนปักษ์ใต้รุ่นทวด ถือว่า เป็นมงคลแก่ชีวิต ทั้งต่อผู้สวดเอง และต่อผู้ฟัง.......

( เมื่อ 40 ปีก่อน คนโบราณ เคยฟัง พ่อเฒ่า สวดไหว้ลายลักษณ์ อยู่เป็นประจำ  ปัจจุบัน หาคนสวด
ไหว้ลายลักษณ์  ได้น้อยมาก จึงนำมาบันทึกไว้ ณ ที่นี้ สำหรับผู้สนใจ )

Click เพื่ออ่านบทสวดไหว้ลายลักษณ์


ตำรายาของทวด

ต่อไปนี้  คือตัวอย่างบทกลอนที่ชุมชนปักษ์ใต้สมัยก่อน ใช้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรด้วย
วิธีท่องจำและบอกต่อๆกันมา
จึงขอนำเสนอไว้ ณ ที่นี้ก่อนที่สมุนไพรทั้งหลายจะหมดไปพร้อมๆ
กับตัวผู้เฒ่าฯ ที่รู้จักตัวยา
...

          ตำรายาขนานที่   บทกลอนของผู้เฒ่า

                     .........................         โอสถนี้ดีนักศักดิ์สิทธิ์ใหญ่
ที่กำลังองคชาติตายขาดไป
                 ทำอะไรแรงอ่อนหย่อนอินทรีย์
เส้นใหญ่น้อยค่อยเคลื่อนเลื่อนไปหมด
   จิตไม่ปลดยังสมัครรักอิตถี
ศีรษะนกยกไม่ไหวไปทุกที
                 อ่อนถึงที่เศียรตกไม่
ถก คอ
ถ้าละไว้ไม่กินยาเกินห้าปี
                    คงถึงที มรณา หาแพทย์หมอ

ยานี้ดีนะนายไม่ใช่ยอ
                        ลูกจันทน์  พอเพียงบาทตามมาตรา
ลูกช้าพลู พริก ขิง สิ่งละบาท
               ดีปลีชาติว่าเชือกเลือกจัดหา
ทั้งเปราะ  ชาย ลูกกระวาน ท่านเอามา
   ทั้งกัญชา  ย่านเอ็น เป็นย่านยาว
รากลำเจียกห้อยงามสามรากมา
          
รากทุ้งฟ้า โดกไก่สองของดำขาว
รากไหลเผือก ไอ้เหล็กกัน พันธุ์ย่านยาว
รากทองกวาว 
̣ลาะแดง รากแว้งกัน
รากโคหาย พร้อม เจ็ตมูลบอระเพ็ด
       ต้นตายเด็ดปลายดีมิอาสัญ 
เอาเสมอภาคพอข้อสำคัญ
                  ต้มสามกลั่นเอาหนึ่งถึงที่ควร
รับประทานสามเวลาอย่าให้ขาด     
      องคชาติกลับหาย ดีหลายส่วน
ทำเป็นผงดองสุราก็ว่าควร            
       เอ็น หย่อนนวล กลับดีมีเรี่ยวแรง
คนไม่มีภรรยัง อย่าหวังกิน             
     มักจากถิ่นด้วยราคะตบะแข็ง
ยานี้ดีจริงนายไม่ใช่แพง               
      เงิน ยังแจ้งว่าควร ด่วนทำเอย .....

จากบทกลอน ได้กล่าวถึงตัวยาสมุนไพรไว้ดังนี้
ลูกจันทน์  ลูกช้าพลู  พริกไทย  ขิง ลูกกระวาน  กัญชา  ย่านเอ็น (ย่านเอ็นสี) รากลำเจียก
 รากทุ้ง
ฟ้า
กระดูกไก่ดำ กระดูกไก่ขาว  รากไหลเผือก อ้ายเหล็ก  รากทองกวาว  
̣ลาะแดง รากแว้ง  ราก
โคหาย  เจ็ตมูล(บอระเพ็ด)  ต้นตายปลายเป็น    ทุกอย่างหนัก 
1 บาทเท่ากัน (เสมอภาค )

(กลอนบทนี้  ผู้เฒ่าแห่งทุ่งปลักเหม็ด  ท่องให้ลูกหลานฟัง ในโอกาสงานเลี้ยงฉลองวันเกิดอายุครบ
80 ปี  พร้อมกับบอกด้วยว่า ปู่ของท่านเคยท่องกลอนบทนี้นานมาแล้ว 
ท่านยืนยันว่ายุคนั้นสมัยนั้น
บทกลอนแนวนี้ ถือเป็นเรื่องปกติของสามัญชนคนปักษ์ใต้ ไม่ได้อุจาดลามก  แต่อย่างใด)


          ตำรายาขนานที่ 2    :  ตำรายาหมื่นศรี  (ที่เล่าต่อกันมา )

ตามประวัติที่เล่าสืบต่อกันมา ทราบว่า หมื่นศรี เจ้าของตำรายานี้ เป็นมหาดเล็กของพระยาศรีธรรม
โศกแห่งนครศรีธรรมราชในสมัยก่อน
   ตำรายาขนานนี้เป็นตำราที่บันทึกเป็นบทกลอนและหมอยา
คนไทยถิ่นใต้ได้ท่องจำสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

   " .............................        ถึงเกยกายก็ไม่สมอารมณ์หวัง

มานอนนิ่งเสียได้ไม่อินัง             เอามือรอต่อตั้งไม่นำพา

ตาหมื่นศรีก็เชื่อเหลือปรากฏ        จึงได้จดจำไว้ให้เร่งหา

หัวขิงแห้ง รากช้าพลู แห้วหมูมา   ทั้งกัญชา ลูกจันท์และพริกไทย

หรดาลกลีบทอง ต้องสำเหนียก    ดีปลีเชืยกเหมือนว่าหามาใส่

ครบแปดสิ่งเสมอภาคไม่ยากใจ    ใส่ครกใหญ่ตำผงให้จงดี

แล้วเสกด้วยคาถาตรีสิงเห           สัมพุทเธให้งามตามดิถี

น้ำผึ้งรวงเป็นกระสายลายทันที     เอายานี้กินลองสองสามวัน

คงจะเห็นฤทธาคุณยานี้              ตาหมื่นศรีเจ้ายาอุตส่าห์หมั่น

อายุแกแปดสิบเศษสังเกตกัน       ภรรยานั้นมากมายหลายสิบคน

ตาหมื่นศรีกินยาอยู่บ่อย ๆ           ว่าไม่น้อยไม่เท็จคืนเจ็ดหน

ภรรยาออกระอาไปทุกคน            ที่เหลือทนก็หนีออกนอกคามา

ถ้าผู้ใดกินยาเหมือนว่าไว้             คงจะได้สมมาตรปรารถนา

ไม่หลอนหลอกบอกชัดตามสัจจา   ถ้ามุสาขอให้ตกนรกเอย."

จากบทกลอน ได้กล่าวถึงสมุนไพร 8 ประการ คือ     เหง้าขิงแห้ง,     รากช้าพลู,    แห้วหมู
กัญชา,  ลูกจันท์,  พริกไทย, 
หรดาลกลีบทอง,  และ ดีปลี 
(ไทยถิ่นใต้เรียกว่า ดีปลีเชืยก)


       ตำรายาขนานที่ 3,  และ 4   : คำคล้องจองที่จำได้ง่าย

ต่อไปนี้คือ  บทกลอน หรือ คำคล้องจอง ที่ชุมชนปักษ์ใต้สมัยก่อนใช้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสมุน
ไพร ด้วยวิธีท่องจำและบอกต่อๆ
     (ซึ่ง ผู้เฒ่าแห่งทุ่งปลักเหม็ด  ได้ท่องให้ฟังเช่นกัน)
      "
รุม กุม ขา
2 า   เดา คนที สองที     ขานางแดง "

กลุ่มคำคล้องจอง ที่กล่าวนี้ เมื่อฟังสำเนียงไทยถิ่นใต้จะมีความหมายไปในทางสัปดน แต่ทั้งหมดนี้
คือ ตำรับยาอายุวัฒนะ  ที่ประกอบด้วยสมุนไพร 
 ดังนี้         1. รุม = มะรุม,       2. กุม = กุ่มน้ำ
3. ขา 2 ขา = ข่าใหญ่ และข่าเล็ก     4. เดา = สะเดา,    5. คนที สองที
คนธีดำ และคนธีสอ,
6. ขานางแดง    รวมตัวยา ทั้งหมด   ชนิด

บทกลอน ( หรือ คำคล้องจอง ) อีกชุดหนึ่ง  ที่ค่อนข้างจะตรงไปตรงมา แต่ง่ายในการจำ เช่นกัน

         " ส่าเหล้า  สาวหยุด   หัวปุดนา  ขี้เหล็กทั้งห้า    ทำยา .... แข็ง "  

(ตรงจุดประ ที่เว้นไว้นั้น   กรุณาพิจารณา เพิ่มข้อความเอาเอง )

คนโบราณ ขอย้ำอีกครั้งว่า บทกลอนแนวนี้ถือเป็นเรื่องปกติของสามัญชนคนปักษ์ใต้ ในสมัย
ก่อนทีใช้บทกลอนเป็นสื่อในการเรียนรู้ ช่วยให้จำได้ง่าย  ไม่ได้อุจาดลามก แต่อย่างใด จึงขอ
ให้ผู้อ่านผู้เข้าเยี่ยมเวบขนำริมทุ่งฯทุกท่านรับทราบและเปิดใจให้กว้าง
เพื่อรับทราบเรียนรู้เรื่อง
ของสามัญชนคนปักษ์ใต้
....

เพื่อให้เข้าใจ คำในภาษาไทยถิ่นใต้ และรู้จักสมุนไพร(บางตัว)ที่ คนโบราณรวบรวมไว้  คลิก
เข้าไปดูได้ที่
ภาษาไทยถิ่นใต้(ภาษาใต้)-กรณีศึกษาภาษาสงขลา และ ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้

คนโบราณ

 


   ตำรายาของคนรุ่นทวด
(ที่พอหาได้
..ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข)

ต่อไปนี้คือ ภูมิปัญญาของคนในอดีตที่พอจะหาได้ในเอกสารของทางการ ที่ คนโบราณ ขออนุญาต
บันทึกไว้ ณ "ขนำริมทุ่งปลักเหม็ด" แห่งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่ง สำหรับผู้ที่สนใจศึกษา "อดีต"

- ประกาศกระทรวงฯ เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ หน้า 1
- ประกาศกระทรวงฯ เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ หน้า 2
- ประกาศกระทรวงฯ เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ หน้า 3
- ประกาศกระทรวงฯ เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ หน้า 4
- ประกาศกระทรวงฯ เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ หน้า 5

 


เรื่องราวพื้นๆของสามัญชนถิ่นใต้


  นิทานภาษาใต้  
ฟังนิทานภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลาริมทะเล     ( ข้อสังเกตุ ผู้เล่านิทานเป็นชาวมุสลิม อำเภอ
เมือง สงขลาซึ่งสำเนียงจะต่างจากสงขลาตอนในและมีสำเนียงสะกอม อำเภอจะนะ
 สอดแทรกอยู่
บ้าง )
Click เพื่อฟัง นิทานภาษาใต้  
 


   เพลงร้องเรือ - เพลงชาน้อง  หน้าถัดไป 


  หน้าแรก                                                             หน้าถัดไป  เรื่องของคนรุ่นทวด 2  
 
                                                                                        

นำเสนอข้อมูลเมื่อ 16/11/2549
ปรับแต่งหน้าเวบเพจ เมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 
 

หัวข้อที่นำเสนอในหมวดนี้

/ บทสวดไหว้ลายลักษณ์ /
/  ตำรายาของทวด  /
/ นิทานภาษาใต้  /
 /  เพลงร้องเรือ  /
ตำรายาของคนรุ่นทวด
(
.....ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข)
 


 

ล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ
หนังตลุง
: ศิลปะถิ่นใต้


รูปหน้าบท

รูปหนังตะลุงทีเปรียบเป็นตัวของนายหนัง โดยธรรมเนียมจะใช้รูปหนังตะลุงรูปนี้ในการเกริ่นนำ ก่อนเดินเรื่อง

 


บังสะหม้อ
ตัวตลกหนังตะลุงสงขลา
(เป็นมุสลิม พูดสำเนียงสะกอม)

ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/
 

 

  

Free Web Hosting