รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ   :   หมวดอักษร   -  ก   หน้าที่ 3  
 
 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -  ก   หน้าที่ 3   )

 /   กุ่มน้ำ
    /    กฤษณา     /    แกแล    /    กำจัดต้น   /    กำแพงเจ็ดชั้น   /



กุ่มน้ำ

  
าพโดย  :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่    :  ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์      Crateva magna  (Lour.) DC. 
ชื่อวงศ์
    
CAPPARACEAE ( CAPPARIDACEAE  
ชื่อภาษาอังกฤษ  
 Three-leaved Caper,  Varuna
ชื่ออื่น       ผักกุ่ม,  ผักก่าม,  รอถะ,

กุ่มน้ำ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 4 -20 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกต้นเรียบสี
เทาอมขาว มีช่องระบายอากาศขนาดเล็กตามผิวทั่วไป
 ใบ เป็นใบประกอบออกสลับใบย่อย
3 ใบรูปใบหอก หรือขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม ออกเป็นกลุ่มหนาแน่นตาม
ปลายกิ่ง  
ดอก 
ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งแต่ละช่อจะมีดอกย่อยจำนวนมาก 12-20 ดอก เกสร
ยาวสีม่วง
กลีบดอกสีขาว มี 4 กลีบ จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวลเมื่อใกล้โรย  ผล ผลสี
เทาอมเหลืองค่อนข้างกลมยาวหรือรูปไข่
ห้อยเป็นพวง ผิวของผลเมื่อแก่จะเป็นสะเก็ดหยาบๆ
มีเมล็ดมาก เมล็ดคล้ายรูปหัวใจเบี้ยว

ลักษณะทางนิเวศและการกระจายพันธุ์ : กุ่มน้ำ ะขึ้นตามริมฝั่งน้ำ ขอบบึง ที่มีแสงแดดส่องถึง  กระจายพันธุ์ตั้งแต่ จีนภาคใต้(กวางตุ้ง, กวางสี, ยูนาน,ไหหนาน), อินเดีย, พม่า,
ลาว,ไทย, เขมร,มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, และศรีลังกา

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
กุ่มน้ำ มีสารพิษกลุ่ม saponin และ tannin  ซึ่งถ้าสัมผัสผิวหนัง จะทำให้เกิดอาการระคาย
เคือง
  หากกินในปริมาณที่มาก หรือจัดเตรียมไม่ถูกต้อง จะทำให้คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง
กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ  ปวดศีรษะ มีไข้ กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย   อย่างไรก็ตาม เรา
สามารถใช้ กุ่มน้ำ เป็นยาสมุนไพร หรือใช้เป็นอาหาร ได้   ดังนี้

เปลือกราก ใช้เป็นยาถูนวดร่างกาย เพื่อให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากๆ
เปลือกต้น เป็นยาระงับพิษที่ผิวหนัง  ยาขับปัสสาวะ
 แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย และแก้โรคนิ่ว
ในทางเดินปัสสาวะ แก้ลม แก้อาเจียน เปลือกโขลกแช่น้ำกินแก้ท้องผูก
ใบ  เป็นยาเจริญอาหาร ยาระบาย แก้ปวดตามเส้น โรคไขข้ออักเสบ ขับเหงื่อทาถูนวด

ต้นและใบ  ต้มกินแก้โรคบิด ปวดท้อง ปวดศีรษะ     ดอก  แก้เจ็บคอ แก้ไข้ 
ใบอ่อนและช่อดอกอ่อน นำมาดองเช่นเดียวกับผักเสี้ยน กินกับน้ำพริก จะมีรสชาติเปรี้ยว
และขมนิดๆ   เป็นยาเจริญอาหาร

  
" ดอกกุ่มน้ำ/ยอดกุ่มน้ำดอง "
าพโดย  :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่    :  ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)


หมายเหตุ
ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของ กุ่มน้ำ  - นจ.
ชมภาพ ดอกกุ่มน้ำ ใน   Picasa Web Albums
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กุ่มน้ำ ได้จากเวบไซท์
 
-
BIOTIK
 
- Flora of China
 
- YouSigma


กฤษณา


าพโดย  :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่    :  ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Aquilaria malaccensis Lam.
ชื่อวงศ์
   
THYMELAEACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ     Malayan Eagle Wood    Agarwood
ชื่ออื่น      ไม้หอม(ภาคใต้),  กายูการู    Kekeras, Kerpeng (มาเลเซีย )

กฤษณา พันธุ์นี้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 20- 40 เมตร ลำต้นตรง ต้นอ่อนเปลือกจะมีสี
น้ำตาลอ่อน มีขนอ่อนปกคลุม เมื่อโตขึ้น เปลือกลำต้นจะ
เรียบ สีเทาอ่อน  ปกติ
เนื้อไม้ที่ยัง
ม่มีน้ำยางออกจะสีขาว เนื้อไม้จะอ่อน  แต่หากมีน้ำยางออก เนื้อไม้จะปลี่ยนเป็นค่อนข้าง
แข็ง สีดำ และมีน้ำหนัก เปลือกของลำต้นลอกได้ง่าย   
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปรี แกม
ขอบขนาน กว้าง 3 -3.5 ซม.ยาว 6- 8 ซม.
ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเป็นคลื่นม้วนเล็กน้อย
แผ่นใบบางเรียบ
ผิวใบเป็นมัน มีเส้นใบ 12- 16 คู่   ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ แบบซี่ร่มที่ซอก
ใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวแกมเขียว
รวมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ มี
ขนอ่อนปกคลุมทั่วไป
 
ผล สีเขียว รูปไข่ปลายมน ยาว 4 ซม. กว้าง 2.5 ซม. เปลือกแข็ง มีขนอ่อนสีเทาปกคลุมทั่วไป  แต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่ 2 เมล็ด

ลักษณะทางนิเวศน์และ การกระจายพันธุ์
กฤษณา (Aquilaria malaccensis Lam.)  จะขึ้นอยู่ตามป่าชุ่มชื้นที่อุดมสมบูรณ์ทั่วไป
 โดยมีแหล่งแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่  อินเดีย, 
พม่า,  ไทย(พบมากในเขตภาคใต้ โดยเฉพาะ
จังหวัดตรัง) มาเลเซีย,  ฟิลิบปินส์  และ อินโดนีเซีย

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
เนื้อไม้
   ต้มกลั่นเป็น น้ำกลั่นกฤษณา  ใช้เป็นส่วนผสม ทำสบู่  ยาสระผม  แก่นกฤษณา
(ที่เหลือจากการกลั่น) ใช้ทำผงธูป  เปลือก ชั้นนอกใช้ทำยากันยุง   ชั้นกลาง ใช้ทำจักสาน
ชั้นใน ใช้ทอเชือกป่าน 
  กิ่ง  ใช้ทำดอกไม้จันทน์งานศพ  บดใช้ทำธูป   เมล็ด ใช้ทำน้ำมันกฤษณา

สรรพุณทางยา
แก่นไม้กฤษณา
ที่มีสีดำและมีกลิ่นหอม ใช้ผสมยาหอม แก้อ่อนเพลียบำรุงกำลัง แก้ลมวิง
เวียนศีรษะ คุมธาตุ บำรุงโลหิตและหัวใจ อาเจียน ท้องร่วง แก้ไข้ต่าง ๆ  บำบัดโรคปวดบวม
ตามข้อ

หมายเหตุ
ดูข้อมูลเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของ กฤษณา จากเวบไซท์
 
สำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
  -  Malay-herbs-online

 


แกแล

  

  
าพโดย  :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่    :  ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner
ชื่อวงศ์
    MORACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ   
Cockspur Thorn
ชื่ออื่น     แกแหล,   หนามแหล(ใต้),   หนามเข (ประจวบคีรีขันธ์) 

แกแล เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง สูง 5 -10 เมตร  มียางสีขาว(เหลืองอ่อนจางๆ)
ต้น กิ่ง และง่ามใบ  มีหนามแหลมแข็ง ปลายตรงหรือโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 1 - 2 ซม.
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรี่ยงสลับเวียนรอบกิ่ง รูปวงรี กว้าง
1-3.5 ซม. ยาว 2 -9 ซม. ดอกออกเป็น
ช่อที่ซอกใบ   แกแลเป็นพันธุ์ไม้ที่แยกเพศอยู่คนละต้น
ช่อดอกเพศผู้เป็นช่อกระจะกลายๆ
ส่วนช่อดอกเพศเมีย เป็นช่อกระจุกแน่น ออกตามง่ามใบเป็นคู่ หรืออยู่เดี่ยวๆ  ช่อดอกเพศผู้
สีขาวนวล ดอกเล็กมาก กลีบรวม 4 กลีบ รูปไข่กลับ ด้านนอกกลีบมีขนสั้น เกสรเพศผู้ 4 อัน
เล็กมาก  ช่อดอกเพศเมียดอกเล็กมาก กลีบรวม 4 กลีบ  โคนติดกัน ปลายแยก  รังไข่อยู่ใน
ฐานรองดอก ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาวกว่ากลีบรวม เล็กน้อย
  ผล เป็นผลรวมทรงกลม ผิว
ขรุขระ เมล็ดเล็กมาก

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  
แก่น
-  เนื้อไม้มีสีเหลือง ใช้ย้อมไหม ฝ้าย(ให้สีเหลือง), ต้มเป็นยาสมุนไพรแก้ไข้รากสาด
แก้ท้องร่วง บำรุงน้ำเหลือง บำรุงกำลัง
  บำรุงเลือดสำหรับหญิงหลังคลอด 

หมายเหตุ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แกแหล ได้จากเวบไซท์
 
- GLOB in MED
  -
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

 


กำจัดต้น


ผลแก่ของ"กำจัด" จะมีผิวขรุขระ

 
"ผลกำจัด" ที่เก็บจากป่าในเขตเขาหลวง อำเภอพิปูน นครศรีธรรมราช
าพโดย  :   คนโบราณ (a_Rsw )

ชื่อวิทยาศาสตร์  Zanthoxylum limonella (Dennst.) Alston 
                     ( ชื่อพ้อง
  Zanthoxylum rhetsa (Roxb.) DC.,) 
ชื่อวงศ์
  RUTACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ  
Makaen,   Teppal,   Sichuan pepper, 
ชื่ออื่น    กำจัดต้น,  ลูกระมาศ (ภาคกลาง),    พริกหอม หมากมาศ(กรุงเทพ),
             บะแข่น,
มะข่วง (ภาคเหนือ),    หมักข่วง (แม่ฮ่องสอน),     มะแข่น (ลาว),
            
มะกรูดตาพราหมณ(นครราชสีมา),     กำจัด (ภาคใต้),
            
Teppal, Tirphal (อินเดีย)

“กำจัดต้น” เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร (อาจสูงถึง 20 เมตร)  ตามลำต้นและกิ่ง  มีหนาม
แหลม
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่หรือคู่ เรียงสลับ มีใบย่อย 5-8 คู่  และอาจมีได้
ถึง
11 คู่ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี ปลายแหลมมากโคนแหลมและเบี้ยว ขอบเรียบหรือหยักห่างๆ
บางครั้งมีต่อมกลมเล็กๆที่บริเวณหยัก    ดอก ออกเป็นช่อ
ก้านดอกยาว มีกลิ่นคล้ายดอกส้ม
หรือดอกเสม็ด  ออกตามซอกใบใกล้ยอด   ช่อดอก เป็นช่อแบบแยกแขนง ขนาดใหญ่
เป็น
ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (ดอกเพศเมียและเพศผู้อยู่คนละต้น
) ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอก 4 กลีบ
สีนวลหรือขาวอมเขียว รูปรีหรือรูปไข่ เกสรเพศผู้
4 อัน ดอกเพศเมียคล้ายดอกเพศผู้ มีรังไข่
ใหญ่    ผล ค่อนข้างกลม สีเขียว ผิวขรุขระ เส้นผ่าศูนย์กลาง
6-7 มม. เปลือกของผล มีกลิ่น
คล้ายผิวมะกรูดผสมมะนาว  เมื่อสุกสีแดง เมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาล
ผลจะแตกจนเห็นเมล็ดสีดำ
กลม ผิวเรียบเป็นมัน มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายผักชี มีรสเผ็ดเล็กน้อ

ผลมีลักษณะแห้งกลม ผิวขรุขระสีน้ำตาล



"ผลกำจัด" ที่แห้งแล้ว

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
ใบอ่อน ผลแก่ เมล็ดแก่ ใช้เป็นเครื่องเทศ
   ใบอ่อน คนเหนือจะรับประทานเป็นผักสดร่วม
กับ
ลาบ ก้อย น้ำพริก  ผลแก่ เมล็ดแก่ที่คั่วแล้ว ใช้ตำน้ำพริก   คนปักษ์ใต้ในแถบเขาหลวง
นครศรีธรรมราช จะใช้
”เมล็ดกำจัด”เป็นส่วนผสมของเครื่องแกงเผ็ด ช่วยให้แกงมีรสเผ็ดร้อน
และมีกลิ่นหอม

รรพคุณทางยา
รากและเนื้อไม้ เป็นยาขับลมในลำไส้ ลมขึ้นเบื้องสูงทำให้หน้ามืดตาลาย วิงเวียน ลดความ
ดัน เป็นยาขับโลหิตระดูของสตรี แต่ไม่ใช้กับหญิงมีครรภ์     เมล็ด สามารถสกัดน้ำมันหอม
ระเหย


ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์
กำจัดต้น เป็นพืชที่กระจายพันธุ์ ตั้งแต่
อินเดีย  ศรีลังกา พม่า  ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาค
แหลมมลายู
  ในประเทศไทยพบทั่วไปใน ภาคเหนือ  ภาคกลาง  ภาคตะวันออก และภาคใต้ 
ตามป่าดิบ บนพื้นที่ระดับต่ำไปจนถึงสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร

ในภาคใต้แถบเขาหลวง(พิปูน, ฉวาง นครศรีฯ) ชาวบ้านยังคงใช้ "เมล็ดกำจัด” เป็นส่วนผสม
ของเครื่องแกงเผ็ด     ขณะที่ในเขตสงขลา คงมีเฉพาะ
ชื่อ “บางกำจัด”  บริเวณหมู่บ้านวังพา
ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  ที่ยังบ่งบอกได้ว่า ครั้งหนึ่งมี 
“กำจัดต้น” ขึ้น
อยู่
ก่อนที่วัฒนธรรมเกษตรเชิงเดียว(ยางพารา)จะรุกเข้าไปยึดพื้นที่ ที่สุด “กำจัดต้น”จึงหมด
ไปจากความทรงจำของคนบ้านวังพา  และคนสงขลาในภาพรวม

หมายเหตุ
ข้อมูลประวัติของ "บางกำจัด"  บ้านวังพา ตำบลทุ่งตำเสา หาดใหญ่ สงขลา - นจ.
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กำจัดต้น ได้จากเวบไซท์
   -
นิวส์-สนุก ดอทคอม
   - The Titi Tudorancea Bulletin

 


กำแพงเจ็ดชั้น

     

     
าพโดย  :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่    :  ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Salacia chinensis  L.         ชื่อวงศ์  CELASTRACEAE 
ชื่อภาษาอังกฤษ  
Chinese Salacia
ชื่ออื่น    หลุ่มนก (ภาคใต้),   ตะลุ่มนก (ราชบุรี) น้ำนอง,  มะต่อมไก่ (ภาคเหนือ),
             กำแพงเจ็ดชั้น (ระยอง
, ตราด,
ประจวบคีรีขันธ์)

กำแพงเจ็ดชั้น  เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูงประมาณ 2-6 ม. ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปรี หรือ
รูปไข่กลับ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ขอบหยักหยาบๆ     ดอก  ดอกออกเป็นกลุ่ม
หรือเป็นช่อสั้นๆ ที่ง่ามใบ ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรือเหลือง กลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอก
 
5 กลีบ รูปไข่ป้อม ผล ผลค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลสุกสีแดงหรือ
แดงอมส้ม มี
1
เมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลม

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก - เป็นยาสมุนไพรช่วยขับลม รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลือง ในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้บำบัด
อาการปวดประจำเดือนหรืออาการประจำเดือนผิดปกติ

หัว
- รักษาบาดแผลเรื้อรัง รักษาตะมอยหรือตาเดือน
เถา
- ขับผายลม ขับโลหิตระดู ฟอกโลหิต บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ   แก้ไข้   แก้โรคปวดบวม
ตามข้อ แก้ประดง แก้ซางให้ตาเหลือง แก้ดีพิการ

ใบ
- แก้มุตกิด ขับโลหิตระดู ขับน้ำคาวปลา
ดอก - แก้บิดมูกเลือด
ต้น
- ขับลม แก้น้ำดีพิการ แก้เสมหะ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ
ผลของกำแพงเจ็ดชั้น กินได้ มีเนื้อสีขาว (ถือเป็นผลไม้ริมทางของเด็กๆ)
 

หมายเหตุ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กำแพงเจ็ดชั้น ได้จากเวบไซท์
  -
Australia Tropical Rainforest Plants ,
  -
Flora of China
ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ทางสมุนไพรของ กำแพงเจ็ดชั้น   - นจ.  )
 




  หน้าแรก                                    หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้       หน้าถัดไป    
 
 
นำเสนอข้อมูลเมื่อ 16/11/2549 
ปรับแต่งข้อความ/รูปภาพ เมื่อ 04/01/2555

Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 

 

เกร็ดความรู้ที่บอกต่อ

ตำรายาบำรุงร่างกาย แก้ปวดเมื่อย

1.โหม่งหลุ่มนก 
(
เถา
กำแพงเจ็ดชั้น..ใช้เฉพาะส่วนของ
เถาที่เป็นแผล เมื่อต้นกำแพงเจ็ดชั้นสร้าง
เนื้อเยื่อเพื่อซ่อมแซม บริเวณที่เป็นแผลนั้น จะโป่ง โตกว่าส่วนอื่นๆ)
2.
เดือยดิน
3.มะเดื่อปล้อง
4.ตาไม้ไผ่
5.(หัว)รากย่านนาง
6.ไม้เท้ายายม่อม(ท้าวยายม่อม)

จากคำบอกเล่าของ
ผู้เฒ่าแห่งทุ่งปลักเหม็ด

  

Free Web Hosting