รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ     หมวดอักษร    ม    หน้าที่  2 
 

 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร    ม    หน้าที่  2  ) 

/   มะม่วงหิมพานต์  /  มะระขี้นก   /   มะรุม    /   มะอึก   /    มังค่า   /   มันขี้หนู /
/   
มัน สาคู   /    มะแว้งเครือ



มะม่วงหิมพานต์
 





มะม่วงหิมพานต์
าพจากอินเตอร์เนท (  http://dada.bloggang.com  )

ชื่อวิทยาศาสตร์   Anacardium occidentale L.     ชื่อวงศ์  ANACARDIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    Cashew Nut

ชื่ออื่น       หัวครก, ยาร่วง (สงขลา-พัทลุง),    กาหยู (ภูเก็ต-พังงา),  กาหยี (ระนอง),
               
Caju  (บราซิล)

มะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ     ลำต้น สูง 10-12 เมตร ต้นเตี้ย แผ่กิ่งก้าน
ไม่สม่ำเสมอ ใบ จัดเรียงเป็นแบบเกลียวรูปโค้งจนถึงรูปไข่ ผิวใบมันลื่น ขอบใบเรียบยาว
4-22 ซม.กว้าง 2-15 ซม.   ดอกเป็นช่อ ยาวถึง 26 ซม. ดอกอ่อนสีเขียวซีด ดอกบานสี
ม่วงแดง มี 5 กลีบ ปลายแหลมเรียวยาว 7-15 ม. ผล เป็นผลวิสามัญ(Accessory fruit)
รูปไข่ หรือรูปลูกแพร์ซึ่งเติบโตจากฐานดอกขึ้นมา  เมื่อสุกจะมีสีเหลือง หรือส้มแดง ยาว
ประมาณ 5-11 ซม.  ผลแท้ของมะม่วงหิมพานต์นั้นเป็นผลเมล็ดเดียวรูปไต งอกออกจาก
ปลายของผลเทียม (ซึ่งเดิมคือ ก้านดอก) ภายในผลแท้เป็นเมล็ดเดี่ยวห่อหุ้มด้วยเปลือก
สองชั้น  ประกอบด้วยยางฟีโนลิก(Caustic phenolic resin), น้ำมัน Urushiol ซึ่งมีพิษที่
ระคายเคืองต่อผิวหนังอย่างรุนแรง

การกระจายพันธุ์
มะม่วงหิมพานต์   เป็นพืชพื้นเมืองดั้งเดิม ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
บราซิล  ที่ปัจจุบันได้แพร่กระจายไปทั่วในภูมิภาคเขตร้อน   โดยจะ
เติบโตได้ทั้งในสภาพ
อากาศที่ชื้น และอบอุ่น ทั้งในเอเชีย และอเมริกาใต้      ในประเทศไทย
มะม่วงหิมพานต์
สามารถเจริญเติบโตได้ดีในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ทั้งนี้เนื่องจากเป็นพืชที่
ทนแล้ง ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ดูแลง่าย ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดที่ระบายน้ำดี หน้าดิน
ลึกไม่เป็นดินดานไม่เป็นดินด่างจัด หรือกรดจัด การปลูกมะม่วงหิมพานต์นอกจากเป็นการ
เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรแล้วยังเป็นการเพิ่มการปลูกป่า ทำให้สภาพภูมิอากาศและสิ่งแวด
ล้อมดีขึ้น

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
ผลเทียมของมะม่วงหิมพานต์ จะมีเนื้อนิ่มฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยวอมฝาดใช้กินได้ทั้งดิบและสุก
คนไทยถิ่นใต้ นิยมนำผลเทียมที่ยังไม่โต มาแกงส้ม  ส่วนผลเทียมที่โตเต็มที่ จะนำมาจิ้ม
เกลือเป็นของกินเล่น  ส่วนผลเทียมที่สุกจะนำไปหมักเป็นไวน์หรือใช้ทำน้ำส้มสายชู ก็ได้
ผลเทียมของมะม่วงหิมพานต์นี้มีส่วนประกอยของแทนนินมาก จึงเน่าเสียเร็ว       ในส่วน
มล็ดมะม่วงหิมพานต์(หรือ ผลแท้)นั้น นับเป็นส่วนประกอบอาหารที่หลากหลายชนิด เช่น
นำมา
บดให้ป่น ทำเป็นเนยมะม่วงหิมพานต์ สำหรับใช้ทาขนมปังแบบเดียวกับเนยถั่ว  หรือ
ทำเป็นอาหารขบเคี้ยวชนิดต่างๆ  
ส่วนของเหลวที่มีอยู่ในเปลือกหุ้มเมล็ดซึ่งประกอบด้วย
ยางฟีโนลิก(Caustic phenolic resin) และน้ำมัน Urushiol
 มีคุณสมบัติไฮโดรโฟบิกเข้ม
ข้น   จึงมีประโยชน์หลายประการในด้านอุตสาหกรรม  เช่น ใช้ทำเป็นวัสดุหุ้มเบรก, ใช้ใน
การเคลือบอีพอกซีสำหรับตลาดผลิตภัณฑ์ปูพื้น และอื่นๆ

(ในเขตชนบทภาคใต้ นิยมนำเมล็ดหรือผลแท้ของมะม่วงหิมพานต์มาคั่วในกระบะ หรือใน
ภาชนะเก่าๆ ให้ไฟเผาไหม้น้ำมันที่หุ้มเปลือกให้หมด    แล้วกระเทาะเอาเมล็ดข้างในที่สุก
หอมได้ที่  ถือเป็นอาหารขบเคี้ยวที่มีรสชาติดี เด็กๆชอบ)

หมายเหตุ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
มะม่วงหิมพานต์ ในเวบไซท์อื่นๆ

  
 เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และขั้นตอนการผลิ  /    การปลูกมะม่วงหิมพานต์

 


มะระขี้นก

   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)


ผลมะระขี้นก   ( ภาพจาก Internet )

ชื่อวิทยาศาสตร์   Momordica charantia Linn.  ชื่อวงศ์  CUCURBTACEAE
ชื่ออื่น
     ผักไห่(กลาง),   ผักไซ่ (อีสาน),   ผักไห, ผักเหย(ใต้ ),

              หมากห่อย, บ่ะห่อย
(เหนือ)

มะระขี้นก   เป็นไม้เถาอายุสั้นเพียง 1 ปี ลำต้น(เถา)มีมือเกาะเลื้อยพาดพันตามต้นไม้อื่น
ลำต้น(เถา)สีเขียวขนาดเล็กมี 5 เหลี่ยม มีขนเล็กๆขึ้นประปราย  ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียง
สลับกัน
 กว้าง 4.5-11.5 ซมยาว 3.5-10 ซม.ลักษณะใบหยักเว้าลึกเข้าไปในตัวใบ 5-6
หยักปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อนและมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมเล็กน้อย ดอกเป็นดอกเดี่ยว
สีเหลืองออกบริเวณง่ามใบ
 ดอกจะแยกเพศกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้มีกลีบเลี้ยง
ห่อหุ้มเอาไว้ กลีบดอกรูปขอบขนานหรือรูปไข่หรือพบทั้งสองแบบ
 ผล มะระขี้นกมีรูปร่าง
คล้ายกระสวย ผิวขรุขระ เส้นผ่าศูนย์กลาง
2-3.5 ซมยาว 5-8 ซมลักษณะคล้ายมะระ
จีน
 แต่มีขนาดเล็กกว่า เมื่อเล็กผลสีเขียว แก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม หรือแดงอมส้ม  เมล็ด
รูปไข่ตลับ ทุกส่วนของมะระขี้นก ที่อยู่เหนือดิน จะมีรสขม

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลอ่อน  ใช้ต้มหรือลวก รับประทานกับน้ำพริกช่วยให้เจริญอาหาร

ประโยชน์ทางยา   -   ตำรายาไทย ระบุว่า ผักไห่เป็นยาเจริญอาหาร ระบาย   แก้โรคลม
เข้าข้อ หัวเข่าบวม เป็นยาบำรุงน้ำดี แก้โรคของม้าม โรคตับ เป็นยาขับพยาธิในท้อง 
 ส่วน
น้ำต้มของใบผักไห่มีสรรพคุณระบายอ่อนๆ น้ำต้มของผลใช้แก้ไข้ น้ำคั้นของผลใช้แก้ปาก
เปื่อย ปากเป็นขุย บำรุงระดูใช้ขับพิษ ผลช่วยฟอกเลือด บำรุงตับ มีผลดีต่อสายตา และผิว
หนัง   
 ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานลดน้ำตาลในเลือด   เมล็ดมีสารลดน้ำตาลเช่นกัน แต่
การใช้เมล็ดเป็นยา อาจก่อให้เกิดการแท้งด้วย

หมายเหตุ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
มะระขี้นก(ผักไห่) ในเวบไซท์อืนๆ

 
  มะระขี้นก (เวบไซท์หมอชาวบ้าน)
   /   ประโยชน์ของมะระขี้นก

 


มะรุม


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Moringa oleifera Lamk.    ชื่อวงศ์   MORINGACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ     Horse Radish Tree
ชื่ออื่น     ผักอีฮึม,   ผักอีฮุม ,  มะค้อนก้อม (เหนือ) , 

มะรุม เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-6 เมตร  เปลือสีเทาขาว รากหนานุ่ม ใบเป็นใบสลับแบบขนนก
2 - 3 ชั้น  ยาว 20 - 60 ซม. ใบชั้นหนึ่งจะมีใบย่อย 8-10 คู่   ลักษณะใบเป็นแบบรูปไข่หัว
กลับ คู่ขนาน  ใต้ใบสีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนสีเทาขนาดใบยาว
1-3 ซม.   ดอกเป็นดอกช่อ
แยกแขนง ออกตามซอกใบ
แยกกันยาว11-15 มม.กว้าง2.0-4.6 มม.  กลีบดอกมี 5 กลีบ
สีขาวหรือขาวอมเหลืองแต้มสีแดง   ผลมะรุม เป็นฝักกลม
ยาวประมาณ 15 นิ้ว ฝักแห้งจะ
แตกออกเป็น 3 พู เมล็ดในขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
1 ซม.มีเยื่อบางเป็นปีก 3 ปีก

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ดอกอ่อน ฝักอ่อน ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก  หรือจะใช้ยอดอ่อนต้ม ก็ได้   ในใบมะรุมจะมี
ปริมาณของแคโรทีน และกรดแอสคอร์บิก
(ไวตามินซี)สูง แต่การเก็บใบให้ได้ปริมาณของ
แคโรทีนและกรดแอสคอร์บิกสูงต้องเก็บ ก่อนที่มะรุมมีดอก   ในประเทศอินดีย จะใช้ดอก
มะรุมชงน้ำร้อนเป็น ชามะรุม เครื่องดื่มที่มีแคลเซี่ยมและโปแตสเซี่ยมสูง

ประโยชน์ทางยา
ทุกส่วนของ มะรุม ใช้เป็นยาบำบัดโรคท้องมาน ปวดบวมตามข้อ บำรุงหัวใจ    ในใบมะรุม
มีวิตามินเอและวิตามินซีสูง ใช้แก้โรคลักปิดลักเปิด ใบตำเป็นยาพอกแผล  ดอกใช้เป็นยา
บำรุงขับน้ำตาลและขับปัสสาวะ  เมล็ด มีรสขมใช้เป็นยาแก้ไข้  น้ำมันจากเมล็ด ใช้ทาแก้
โรคปวดตามข้อ          เปลือกและรากมะรุม มีอัลคาลอยด์
  2 ชนิด คือ  meringine และ
meringinine  (
มีฤทธิ์ทำให้ความดันเลือดสูงหัวใจเต้นเร็ว )     น้ำคั้นจากใบมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ
Micrococcus pyogenes
var. aureus,Escherichia coli,  Bacillus subtilis

อย่างไรก็ตาม แม้มะรุมจะมีคุณประโยชน์มาก  แต่การกินมะรุมทุกวันเป็นแรมปี อาจมีผล
เสียต่อตับ เนื่องจากมะรุมมีสารอาหารมาก เมื่อร่างกายรับสารอาหารมากเกินความจำเป็น
ตับจะต้องทำงานมากกว่าปกติ ดังนั้นจึงมีแพทย์ผู้รู้ได้ตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นว่า  มะรุมอาจ
มีผลเสียต่อตั
บได้  ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการกินมะรุมทุกวันและติดต่อกันเป็นเวลานาน

ประโยชน์อื่นๆ
น้ำมันจากเมล็ดมะรุม
เรียกว่า Behenoil  ใช้เป็นอาหารได้  (แต่จะมีกลิ่นหื่นจึงมักใช้เป็นน้ำ
หล่อลื่นเครื่องจักร, ใช้จุดตะเกียง และใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์
)

หมายเหตุ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
มะรุม ในเวบไซท์อืนๆ

    
Moringa Garden Circle   /  หมอชาวบ้าน ]
 


 

มะอึก


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Solanum stramonifolium Jacq.  ชื่อวงศ์  SOLANACEAE
ชื่ออื่น    อึก(ใต้),   มะปู่, หมากเขือปู่ (เหนือ),   หมากเขือขน (อีสาน)

มะอึก เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1 เมตรมีขนแน่นหนา ใบเดี่ยวออกสลับรูปใบหอกแกมรูปไข่
กว้างประมาณ 26 ซม.ยาวประมาณ 30 ซม.   ปลายแหลม โคนเว้า   ขอบหยักเว้า มีหนาม
ตามเส้นใบ ดอก สีขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบ  กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5
กลีบ รูปใบหอกแคบ ปลายแหลม ด้านนอกมีขน  เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม.เกสร
ตัวผู้ 5 อัน
     ผล กลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 ซม. มีขน เมื่อแก่สีเหลืองหรือส้ม
  มีเมล็ด
จำนวนมาก

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก แก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียวบำรุงถุงน้ำดี  แก้ถุงน้ำดีอักเสบ  ขับเสมหะ  กระทุ้ง
พิษ ดับพิษร้อนภายใน ระงับปวด  กระทุ้งพิษไข้หัวทุกชนิด รักษาแผล  แก้ไอ แก้น้ำลาย
ไหล แก้ไข้      ผล แก้เสมหะ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว   แก้ไข้สันนิบาต  กระทุ้งพิษ ดับ
พิษร้อนภายใน แก้ดีฝ่อ   เมล็ด แก้ปวดฟัน   ใบ เป็นยาพอกรักษาฝี
   ผลสุก มีรสเปรี้ยว
ใช้ปรุงเป็นอาห

 

หมายเหตุ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
มะรุม ในเวบไซท์อืนๆ

  
มะอึก หมากเขือขน (บ้านมหา )   /  มะอึก : มะเขือป่าฯ(หมอชาวบ้าน)

 


มังค่า

   

   

าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Cynometra  ramiflora  Linn.  
ชื่อวงศ์    
LEGUMINOUSAE -CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่น       มังคะ,     มะคะ,    katong laut (มลายู) 

มังค่า เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดใหญ่ สูงประมาณ 9 -10 เมตร, ใบ ประกอบแบบขนนก
ปลายคู่    รูปหอกรี ปลายแหลม 
กว้าง
1-2  ยาว 4-5 นิ้ว หน้าใบเรียบเป็นมัน  ขอบเรียบ
ก้านใบหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยใบ
4 ใบเป็นใบใหญ่ 1 คู่ และใบเลี้ยงใต้ใบใหญ่อีก 1 คู่  ยอด
อ่อนของมังค่า มีสีขาวอมชมพู 
ใบอ่อนจะห้อยเป็นพวง  คล้ายใบคางคก     ดอก
แบบช่อ
เชิงลดมีก้าน  ออกตามง่ามใบหรือเหนือรอยแผลใบ  ช่อดอกตั้งตรง ดอกย่อยสีขาว กลีบ
เลี้ยง 4 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน  ปลายตรง  รูปใบหอก   กลีบดอก 5 กลีบ  รูปใบหอกแคบ
เกสรเพศผู้ 10 อัน เกสรเพศเมียสั้นและมีขนปกคลุมหนาแน่น รังไข่เกลี้ยงตั้งตรงเป็นแนว
เดียวกับรังไข่
 ผล รูปทรงและสีคล้ายละมุดขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 นิ้ว ผิวขรุขระเหมือนผิวมะกรูด ปลายผลมีจะงอย ฝักแห้งไม่แตก เมล็ดรูปทรงกลม สีน้ำตาลแดงเหมือนเมล็ดฝรั่ง

ลักษณะทางนิเวศวิทยา
พบขึ้นในพื้นที่ไม่ห่างจากฝั่งทะเล เช่น ที่ลุ่มน้ำขัง และป่าพรุ ตามริมฝั่งแม่น้ำหรือด้านใน
ป่าชายเลนที่เป็นดินเลนแข็ง   หรือตามพื้นที่ป่าชายหาด    โดยมีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่
อินเดีย  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  รวมทั้ง ฟิลลิบปินส์ และหมู่เกาะในแปซิฟิก

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใบอ่อน  มีรสฝาด เปรี้ยว มัน  คนไทยถิ่นใต้ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก (ผักเหนาะ)  
ราก  ฝนให้ละเอียดผสมลงในเหล้า จะทำให้เหล้ามีรสจืดลง    
ปุ่มจากเนื้อไม้
ใช้แก้พยาธิ โรคผิวหนัง   หรือจะต้มให้เดือด แล้วใช้ไอน้ำที่ระเหย รมหัว
ริดสีดวงทวาร ช่วยให้หัวริดสีดวง ฝ่อแห้ง

หมายเหตุ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
มังค่า ในเวบไซท์อืนๆ

thaimangrove ดอทคอม   /   ASEAN Tropical Plant Database

 



มันขี้หนู

   


ภาพจาก  
โครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้ฯ
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

http://natres.psu.ac.th/ProjectSite/webpage/detail-project.htm

ชื่อวิทยาศาสตร์   Coleus parvifolius  Benth      ชื่อวงศ์   LABIATAE

ชื่ออื่น      มันหนู ,  อุปิกะลัง (มลายู)

มันขี้หนู เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก  ต้น  สูงประมาณ 1- 2 ฟุต  ลำต้นอวบน้ำ  มีขนปกคลุม
ลำต้นเป็นสีเหลี่ยมและทอดเลื้อย
   ใบ ใบเดี่ยวรูปกลมแกมไข่ ขอบใบหยัก  ปลายใบมน
ออกตรงข้ามสลับตั้งฉากกัน  โดยออกจากหัว  ใบแผ่บนผิวดิน ขนาดของใบยาวประมาณ
6.5 - 8.5 ซม. กว้างประมาณ 5 - 7 ซม. ก้านใบยาว 4 - 5  ซม.
ดอก มีขนาดเล็กสีขาว
อมม่วง ช่อดอกออกที่ปลายยอดชูตั้งขึ้นสูง แต่ไม่ค่อยติดผล
    หัวมัน  รากของมันขี้หนู
บริเวณข้อของลำต้นจะมีการสะสมอาหารและพัฒนากลายเป็นหัวขนาดเล็ก ยาว
3- 5 ซม.
ทรงกระบอกหัวท้ายป้าน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 - 3 ซม.ผิวเปลือกของหัวมีสีน้ำตาลเนื้อใน
สีขาวหรือม่วง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์

หัวมันขี้หนูแก่ เป็นอาหารใช้แกงส้ม แกงไตปลา แกงกะทิ    หรือ นำไปต้มเป็นอาหารว่าง
จิ้มน้ำตาลทราย  ก็ได้

หมายเหตุ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
มันขี้หนู ในเวบไซท์อืนๆ
doothaithai ดอทคอม
 



มันสาคู

   

   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Maranta  arundinacea  Linn.  ชื่อวงศ์   MYRANTACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    West Indian Arrow-Root.
ชื่ออื่น     สาคูขาว,    สาคูวิลาส

มันสาคู  เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน  มีกาบใบอ่อนซ้อนกัน เป็นลำต้นเทียมขึ้นมาเหนือดิน
 ความสูงทรงพุ่มประมาณ 50 - 80 เซนติเมตร    เหง้าหน่ออ่อนใต้ดิน มีรูปยาวรีปลายยอด
แหลม สีขาวมีข้อปล้อง  มันสาคูมีใบเดี่ยว   สีเขียวรูปรีปลายใบแหลม  ความยาวประมาณ
 20 - 25 เซนติเมตร กว้าง 10 - 20 เซนติเมตร  ขอบใบขนานม้วนเข้าหากันเล็กน้อย แผ่น
ใบเรียบสีเขียว รวงช่อดอกยืดยาวเหนือทรงพุ่ม ดอกสีขาวทรงระฆัง  มันสาคูเป็นพืชที่ชอบ
ที่ชุ่มชื้น แต่ไม่ชอบที่น้ำขัง   มี 2 ชนิดคือมันสาคูธรรมดา และมันสาคูใบลาย

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  

เหง้าแก่  ต้มกินเป็นอาหารว่าง  
เหง้าอ่อน   ใช้เป็นยาช่วยขจัดเมือกไขมันที่ผนังลำไส้ ,  ตำให้แหลกใช้พอกคางทูม

หมายเหตุ ของคนโบราณ
ปัจจุบัน คนไทยถิ่นใต้(คลองหอยโข่ง,หาดใหญ่ สงขลา) น้อยคนนัก ที่จะรู้จักกิน รู้จักคุณประโยชน์ของมันชนิดนี้   คงทราบเพียงว่า พืชชนิดนี้เป็นไม้ประดับที่ใช้ตกแต่งสวน พันธุ์หนึ่งเท่านั้น  คนที่รู้จักจึงมักจะอยู่ในเขตป่าเขา หรือไม่ก็อายุ 60-70 ปีขึ้นไป

 


มะแว้งเครือ


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : บ้านสวนตูล  ต.เขารูปช้าง อ.เมือง  สงขลา

ชื่อวิทยาศาสตร์   Solanum trilobatum Linn.     ชื่อวงศ์    SOLANACEAE
ชื่ออื่น      แว้งเครือ  ( ใต้ )

มะแว้งเครือ เป็นไม้เถา  ทั้งเถา   ใบและก้านดอกมีหนาม    ลักษณะของใบ  เป็นใบเดี่ยว
 ออกสลับรูปไข่หรือรูปรีกว้าง 1-5.5 ซม.ยาว 1.5-7.5 ซม. ขอบหยักเว้า ปลายมน โคนตัด
หรือสอบแคบ    ดอกสีม่วงออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบมี2-8 ดอก   กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกัน
 ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมกัน ปลายแผ่และแยกเป็น 5 แฉก เมื่อบานเส้น
ผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ซม. เกสรตัวผู้ 5 อัน อับเรณูสีเหลือง  ผล กลม เส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 1 ซม.เมื่อสุกสีแดง เมล็ดจำนวนมาก

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ผล   ผล
มะแว้งเครือมีรสขม   เป็นยาขมเจริญอาหาร   บำบัดโรคเบาหวาน    ใช้แก้ไอ ขับ
เสมหะ
โดยใช้ผล 4-10 ผล   โขลกพอแหลก  คั้นเอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อย  จิบบ่อย ๆ หรือ
เคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมเฝื่อน    มะแว้งเครือเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้ง
เช่นกัน นอกจากนี้ ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ไข้

หมายเหตุ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
มะแว้งเครือ ในเวบไซท์อืนๆ
       
-
 ฐานข้อมูลพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์ฯ

 



   หน้าแรก                              หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้         หน้าถัดไป      
 
นำเสนอเมื่อ 15/11/2552
ปรับแต่งข้อความเมื่อ 09/08/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 
 


ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปนายเท่ง  ( "ไอ้เท่ง" )
หนังตะลุง :
ศิลปะถิ่นใต้


นายเท่งหรือไอ้เท่ง ถือเป็นตลกตัวสำคัญ
ของหนังตะลุงที่มีบุคลิกตรงไปตรงมา
พูด
จาโผงผาง ชอบ
ล้อเลียนผู้อื่นและไม่เกรง
ใจใคร    ในบรรดาหนังตะลุง ที่มีชื่อเสียง
ในอดีต  หนังอิ่ม บ้านควนเนียง
อำเภอ
รัตภูมิ จังหวัดสงขลา (ปัจจุบันได้ยกฐานะ
เป็นอำเภอควนเนียง)   ถือเป็นนายหนังที่
เน้น บทบาทของ ไอ้เท่ง ได้สมจริง
จน
หนังอิ่ม
ได้มีฉายาต่อท้ายว่า
หนังอิ่มเท่ง


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting