รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ    :   หมวดอักษร   -  ค 
 
 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -  ค  )

/   คางคก  /   คุระ-เปรียะ   /  โคลงเคลง,  มังเคร,  เบร้,    /    คล้าย   /   เค็ด   /


คางคก


าพโดย   :   คนโบราณ (A_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

   


าพโดย   :   คนโบราณ (A_Rsw )  
สถานที่   :   บ้านหนำคอก  ท่าโพธิ์   สะเดา สงขลา

ชื่อวิทยาศาสตร์      Cynometra cauliflora
ชื่อวงศ์
  
LEGUMINOSAE  /  FABACEAE   ( Subfamily   Faboideae / Papilionaceae )
ชื่อภาษาอังกฤษ   Nam nam

ชื่ออื่น   -  ส้มคางคก,  ส้มขามคางคก,  คางคก(ใต้),   กาเตาะปูฆู (มลายู)   
              
หน้าหนำ ( สะเดา,สงขลา  คำว่า หน้าหนำ ของคนสะเดา นี้  น่าจะเป็นคำที่เพี้ยน
               มาจาก nam nam องคนมาเลย์)  

คางคก พันธุ์ไม้ประจำถิ่นดั่งเดิม
ของมาเลเซียภาคเหนือ เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5 - 8 เมตร
เจริญเติบโตได้ดีบริเวณชายน้ำ  
เปลือกต้นสีน้ำตาลเทาถึงน้ำตาลคล้ำ ใบสีเขียวอ่อนรูปรีปลาย
แหลม โคนสอบ ออกเรียงสลับ
ใบอ่อนจะห้อยเป็นพวง  คล้ายใบต้นมังค่า  แต่มีขนาดเล็กกว่า
ดอก ออกตามลำต้นรวมกันเป็นกระจุกก้านดอกมีเกล็ดสีน้ำตาลหุ้มอยู่ ดอกมีสีเหลืองขาวแซม
ม่วงเล็กน้อย  ผล
 มีรูปร่างแบนคล้ายมะม่วง
ผิวสีเทาปนเขียว  มีรอยขรุขระไม่สวยงาม ( ชาว
ใต้ จึงเรียกผลว่า ลูกคางคก)
ผลอ่อนมีสีน้ำตาลแกมเขียว  เมื่อเจริญขึ้นมีสีเหลือง  ผลดิบมีรส
คล้ายมะม่วงดิบ เมื่อผ่ากลางจะมีลักษณะเมล็ดคล้ายมะม่วง  ผลสุกขนาดใหญ่ ประมาณ
200
กรัมมีสีเหลืองและเมล็ดสีน้ำตาล   เมื่อออกผลแล้ว นานประมาณ
2-3 เดือน จึงสุก

เนื่องจากชื่อที่ไม่ไพเราะและรูปลักษณ์ของผลที่ไม่สวยงาม  จึงทำให้คนปักษ์ใต้รุ่นปัจจุบันไม่
นิยมปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ จนกลายเป็นพันธุ์ไม้หายาก อย่างไรก็ตาม ต้นคางคกยังพอจะพบเห็น
ได้ในเขต
3 จังหวัดชายแดน  
ในเขตจังหวัดสงขลาจะพบได้ในแถบอำเภอจะนะ, เทพา,นาทวี
และอำเภอสะเดา
 

ในเขตภาคกลาง  ที่อำเภอ
อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งซึ่งลักษณะจะใกล้
เคียงกับต้นคางคก
มาก ต่างตรงที่ผลจะมีผิวที่ขรุขระน้อยกว่าผิวของผลคางคก   พันธุ์ไม้ชนิดนี้
เรียกว่า
"อัมพวา"

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ผลสุก มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว รับประทานได้   ใบ  ตากแห้งใช้ต้ม เป็นยารักษาโรคเบาหวาน


หมายเหตุ

1. แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของต้นคางคก    -   นายเจริญ พรหมเขียว ข้าราชการบำนาญ
    กรมราชทัณฑ์   บ้านหนำคอก .ท่าโพธิ์ อ.สะเดา .สงขลา
2. ดูภาพและข้อมูล
ต้นคางคก เพิ่มเติมจากเวบไซท์
    / TopTropicals.com  /  Blog-ชบาตานี  /


 


คุระ-เปรียะ

  


าพโดย   :   คนโบราณ (A_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)


ชื่อวิทยาศาสตร์   Croton caudatus  Geiseler.      วงศ์  EUPHORBIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ  
Caudated croton
ชื่ออื่น    กุระ-เปรี๊ยะ (สงขลา),    กระดอหดใบขน  ( ตะวันออกเฉียงใต้)

คุระเปรี๊ยะ  เป็นพันธุ์ไม้พุ่ม/ไม้เลื้อยที่พึ่งพิงต้นไม้อื่นไปทุกทิศทาง  ยาวไปไกลประมาณ  5
เมตร ก้านใบ
, ใบอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนอ่อนสีน้ำตาลอมเหลือง  ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูป
ไข่
ถึงรูปกลมกว้าง
2-4.5 ซมยาว 3.5 - 9 ซม. ขอบใบเป็นหยัก ทั้งหน้าใบหลังใบมีขนอ่อนก้าน
ใบยาวประมาณ
1-3 ซม.    ดอก   ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง

ลักษณะทางนิเวศน์
คุระเปรี๊ยะ
จะพบเห็นได้ทั่วไปตามป่าพรุ,ริมสายน้ำลำคลอง,ตามป่าดิบชื้นตั้งแต่ระดับน้ำทะเล
ไปจนถึงระดับ
200-700 เมตร

 

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก
 
ใช้ต้มเป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก    เนื้อไม้ตากแห้ง  ต้มเป็นยาธาตุ   ช่วยให้ระบบ
ย่อยอาหารเป็นปกติ ใบ
ตำเป็นยาพอกภายนอก ลดไข้ แก้ปวดข้อ และปวดเมื่อยตามร่างกาย

( แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของ  คุระเปรี๊ยะ   - นจ. )
 


โคลงเคลง  


าพ#1 โดย   :   คนโบราณ (A_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

    
ภาพ# 2, # 3 มาจาก internet ( เวบ Magnolia Thailand )

ชื่อวิทยาศาสตร์   Melastoma malabathricum Linn.
ชื่อวงศ์
    
MELASTOMATACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ  
Singapore rhododendron Blue Tongue
ชื่ออื่น      เบร้, เหมฺรฺ (สงขลา),   มังเร (นครศรีธรรมราช),
               มังเคร(ชุมพร),   ก้นครก,  เอนอ้า (อีสาน),  โคลงเคลง (กลาง)

โคลงเคลงเป็นพันธุ์ไม้พุ่ม สูงตั้งแต่ 1.5-2 เมตร ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ สลับแผ่นใบรูป
ขอบขนานแกมรูปรี ยาว
7-10 ซม.กว้าง 3-4 ซม. ผิวใบมีเกล็ดเล็กแหลมสั้นๆ ปลายใบแหลม
ถึงเรียว
แหลม  โคนใบแหลม มีเส้นใบ 3 เส้นจากโคนใบจรดปลายใบ  ก้านใบ ยาว 1 - 2 ซม.
ดอกสี
ชมพูแกมม่วงสด เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 -7 ซม. ถ้วยรองดอกมีเกล็ดเล็กสีขาว     ผล สีน้ำ
ตาลรูปถ้วยปากผาย
กว้าง 1.5 ซม. ตรงปากถ้วยสีน้ำตาลแดง ในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ด
เล็กเนื้อสีดำ
 โคลงเคลงเป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นง่าย มักมีกระจายพันธุ์อยู่ตามชายป่าหรือตามริมห้วย
ที่มีแสงแดดส่องถึง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก ใช้ปรุงเป็นยาดับพิษไข้ แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ  ปรุงเป็นยาแก้ปวด แก้มะเร็ง
ดอก
เป็นยาระงับประสาทและใช้ห้ามเลีอดในคนที่เป็นริดสีดวงทวาร
ผล 
รสหวานฝาด รับประทานได้
ใบ  ใช้รูดปลาไหล ขจัดเมือกได้ดี

 


โคลงเคลงดอกขาว

   
าพ โดย   :   คนโบราณ (A_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่) 

ชื่อวิทยาศาสตร์   Melastoma malabathricum var. alba
ชื่อวงศ์
    
MELASTOMATACEAE
ชื่ออื่น   เบร้ ดอกขาว,  เหมฺรฺ ดอกขาว (สงขลา),   มังเร ดอกขาว (นครศรีธรรมราช), 
            มังเคร ดอกขาว(ชุมพร),    ก้นครกดอกขาว,  เอนอ้าดอกขาว (อีสาน)
            โคลงเคลงดอกขาว (กลาง)

โคลงเคลงดอกขาว  มีลักษณะเหมือน โคลงเคลงดอกสีม่วง  ต่างตรงใบของโคลงเคลงดอก
ขาว จะบางและยาวเรียวกว่า
โคลงเคลงดอกสีม่วง จุดที่แตกต่างอีกประการคือ  ผล ของโคลง
เคลง
ดอกขาว จะมีสีเขียวอ่อน ตรงส่วนยอดของผลที่มีลักษณะเป็นปากถ้วย จะมีเสีเขียวเข้ม
ต่างจาก โคลงเคลง
ดอกสีม่วง ที่มีสีน้ำตาลแดง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก ใช้ปรุงเป็นยาดับพิษไข้ แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ  ปรุงเป็นยาแก้ปวด แก้มะเร็ง
ดอก
เป็นยาระงับประสาทและใช้ห้ามเลีอดในคนที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร
ผล 
รสหวานฝาด รับประทานได้
ใบ  ใช้รูดปลาไหล ขจัดเมือกได้ดี

โคลงเคลงดอกขาว เป็นโคลงเคลง ที่มีสรรพคุณทางยาดีกว่า โคลงเคลงดอกสีม่วง )
 

( แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของ  โคลงเคลง   นจ.  )

หมายเหตุ
โคลงเคลง ในประเทศไทย จะมีอีกชนิดหนึ่งที่ต้นสูงกว่า ดอก,ผลจะใหญ่กว่า  แต่สีของเมล็ด
สุก จะซีดกว่า  โคลงเคลง ชนิดนี้ เรียกว่า โคลงเคลงช้าง, มังเครช้าง,  มังเรช้าง หรือ เบร้ช้าง
Melastoma sanguineum  Sims  (ชื่อพ้อง  M.polyanthum  BL. )
Melastoma villosum Lodd.

 


คล้าย

   
าพโดย   :   คนโบราณ (A_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Salix tetrasperma Roxb.       ชื่อวงศ์   SALICACEAE
ชื่ออังกฤษ    
Indian Willow
ชื่ออื่น    คล้าย,   ไคร้( ใต้ ),  ไคร้ใหญ่(ยะลา)   ตะหนุ่น,   สนุ (ภาคกลาง),   ไคร้นุ่น,
            
ไคร้บก,  ตะไคร้บก(เหนือ)      

ไม้ยืนต้นทรงสูงชะลูด สูงได้ถึง 15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีขาว หูใบร่วงง่าย รูปไข่แกมรูปโล่ ยาว
ได้ถึง 4 มม.ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 8-12 (-20) ซม. ผิวใบด้านบน
เกลี้ยงหรือมีขนประปราย ท้องใบเกลี้ยงถึงมีขนสีขาวหนาแน่น
ขอบใบหยักซี่ฟัน ก้านใบสีแดง
ดอกช่อแบบหางกระรอก ห้อยลง ออกตามซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ยาว 5-15 ซม.   ช่อ
ดอกตัวผู้มีขนสีขาว ช่อดอกตัวเมียดอกย่อยจำนวนมากเรียงตัวแน่น  ใบประดับมีขน มีต่อมน้ำ
หวาน 1 ต่อม เกสรตัวผู้ 4-10 อัน  ผลแห้งจะแตกเป็น 2 ฝา ก้านยาว 2 มม.ผิวเกลี้ยง ยาว 3-4
มม.

การกระจายพันธุ์ คล้ายเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบขึ้นอยู่ตามที่ลุ่ม หรือริมธารน้ำ ที่ระดับความสูง 200-1200 เมตร

ส่วนที่ใช้ประโยชน์

สรรพคุณทางยา    เปลือก -
ตำรายาไทยใช้เป็นยาแก้ไข้ บำรุงหัวใจ (ในเปลือกต้น พบสาร
salicin มีฤทธิ์ลดไข้แก้ปวด เช่นเดียวกับแอสไพริน )
     น้ำคั้นจากใบสด  ใช้ทาแก้พิษงูสวัด
ราก ช่วยดับพิษร้อน และแก้ตับพิการ

ประโยชน์อื่นๆ 
คล้าย  เป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบขึ้นริมน้ำ/ริมคลอง  สามารถนำมาปลูกเสริมตามคันดินหรือสันเขื่อน
เพื่อช่วยป้องกันดินพังได้

( แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสรรพคุณทางยา จาก เวบไซท์ องค์การเภสัชกรรม )


เค็ด 

   

   
าพโดย   :   คนโบราณ (A_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปีกลูกหมู  (หลัง สนง. รพช.จังหวัดสงขลา  หมู่ 6  ควนลัง หาดใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์    Catunaregam tomentosa (Blume ex DC.) Tirveng.
                         ( ชื่อพ้อง 
Randia tomentosa (Blume ex DC.) Hook. f.  )
ชื่อวงศ์    RUBIACEAE
ชื่ออื่น      มะเค็ด, ไม้เค็ด(กลาง),   เค็ด, หนามเค็ด(ใต้),  หนามแท่ง, ระเวียงใหญ่(อิสาน)

เค็ด   เป็นไม้พุ่มกึ่งยืนต้น ขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 2-6 เมตร  มีหนามแข็ง เป็นคู่ๆ ยาว 2-5 ซม.
กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนนุ่มสีน้ำตาลมีหูใบรูปสามเหลี่ยมที่โคนก้านใบแต่ติดตรงข้ามกับคู่ใบ
ลำต้นตั้งตรง
เปลือกนอกสีเทาจนถึงดำแตกเป็นเกล็ด   
ใบ ใบเดี่ยวรูปไข่กลับ ออกเป็นคู่ตรง
ข้ามกัน แต่ละคู่ตั้งฉากกันและกัน ขนาดใบ กว้าง
1.5-2.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. โคนใบสอบเข้า
จนถึงมนๆ ปลายใบมนกว้าง   มีติ่งแหลมเล็กๆ มีขนนุ่มทั้งสองด้าน  ท้องใบสีนวลขาว หลังใบ
เขียวเข้ม ก้านใบยาว
0.6-0.8
ซม. ดอก ดอกเดี่ยว  ออกตามปลายกิ่งแขนงทั่วไป บานเต็มที่
กว้าง ขนาด
2-3 ซม.กลีบรองดอกรูปถ้วยขอบหยักชัดเจน 7-9 หยัก   กลีบดอกส่วนโคน รวม
กันเป็นหลอด  ปลายกลีบดอกแยกกันเป็นอิสระ
9 กลีบโคนกลีบห่อลงคล้ายก้าน แล้วบิดโค้ง
ลงจนถึงปลายกลีบบานผายออกปลายกลีบแหลม 
ผล ผลสดรูปกลมหรือรีขนาด 4.5-5.5 ซม.
มีขนนุ่มสีน้ำตาลคลุมหนาแน่นทั้งผล  ปลายผลมีกลีบดอกแปรเปลี่ยนเป็นจุกปลายผล  ผลแก่
สีน้าตาลเข้มมากขึ้น เมล็ดเดียวขนาดใหญ่

ลักษณะทางนิเวศน์
เค็ด  กระจายพันธุ์ตามป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าเต็งรัง โดยเฉพาะที่เปิดโล่ง หรือทุ่งหญ้าที่ระดับ
ความสูงถึง
500 เมตร

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ผลแก่ นำมาทุบพอแหลก ใช้ซักผ้า ทำความสะอาดร่างกาย และสระผมได้
น้ำที่ได้จากการแช่ผลเค็ด  ใช้เบื่อปลาได้ด้วย




  หน้าแรก                                     หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้        หน้าถัดไป    
 
 
  ปรับแต่งข้อความเมื่อ 01/02/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 
 
 

  

Free Web Hosting