คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด - ย   ) หน้า 2
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ย   ) หน้า 2


ย่านัด,  ยะนัด, ย่านหนัด, ย่านหัด   (น.) สัปปะรด
        สัปปะรด  (
  Ananus comosus Merr. วงศ์   BROMELIACEAE )
        
คำว่า "ย่านัด" นี้ เข้าใจว่าคนใต้รับมาจากฝรั่งโดยตรง โดยฝรั่งรับมาจากภาษา
        อินเดียนแดง ซึ่งเรียกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ ว่า อานา,อนานัส (Ananus) เมื่อถ่ายทอด
        เสียงมาถึงปักษ์ใต้
จึงกลายเป็น  "ย่านัด"
        
เฉพาะชาวสงขลาอำเภอรัตภูมิ  ควนเนียง  สิงหนคร   สะทิงพระ และระโนด
        (  รวมทั้งชาวพัทลุง )จะเรียกสัปปะรดว่า 
"มะลิ"   (ออกเสียงเป็น หมะ-หลิ )

ยาหมู (ออกเสียง หย่ามู๊  (น. ฝรั่ง(ผลไม้)
      
ฝรั่ง     ( Psidium guajava L. วงศ์ MYRTACEAE )
      
ยาหมู ป็นคำที่ชาวสงขลาริมทะเล หรือ "โหม่ บก" ใช้เรียกฝรั่ง   ส่วนชาวสงขลา
       ตอนใน  หรือ"โหม่ เหนือ" จะเรียกฝรั่ง ว่า ชมพู่  -เปรียบเทียบกับภาษามลายู จะ
       ใช้คำว่า
jambu

ยา หนุม  (น.)   กาละแม

ยำมังแม็ดแล่ว(ว.) ยำ - เสียหาย พลาดท่าเสียที(คำนี้คงจะเหมือนข้าวยำที่ผสมปนเป
       จนแยกไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไร)  ส่วนคำว่า มัง เป็นคำขยายความคำว่า ยำ ให้มี
        ความหมายในเชิงปริมาณที่มาก 
แม็ดแล่ว - หมดแล้ว  ดังนั้น “ยำมังแม็ดแล่ว"
      
 ความหมายคือ เสียหายหมดแล้ว

ย้ำแยะ (ก.) พูดบ่น  หรือพูดซ้ำ ย้ำอยู่แต่เรื่องความผิดพลาดของผู้อื่น

ยิก    (ก.)  ไล่,  ขับไล่,  ตะเพิด
       
(คำนี้เลือนมาจาก  กรัวญึก ในภาษาเขมรโบราณ)
       
" เหนื่อยเหมือนหมา ยิก แลน " 
-  เหนื่อย (ลิ้นห้อย) เหมือนกับหมาไล่ตะกวด
       
       ( อีกวลีหนึ่งที่ชาวใต้จะใช้กันมากในช่วง กุมภาพันธ์ -มีนาคม 2549   หลังจากที่
       อดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ประกาศยุบสภา  ก็คือ
" ยิกทักษิณ " ซึ่งหมายถึง
       "ไล่ทักษิณ"นั้นเอง )

ยิ่ง หมี,   ยิ่ง หมี นะ  (ว.)  วลีภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) ใช้ในความหมาย  "ที่จริง
         แล้วน่าจะ
...ถ้าไม่... ..        ตัวอย่างการใช้วลีนี้ ใน
ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)
        
“ยิ่ง หมี  ตาย ถ้ากูมาช่วยไม่ทัน  - ที่จริงแล้ว น่าจะตาย  
ถ้ากูมาช่วยไม่ทัน
         (
เกือบตายไปแล้ว ยังดีนะที่กูมาช่วยได้ทัน)
        
" ยิ่ง หมี  มึงถูกถีบ ถ้ามันไม่เห็นกูนั่งอยู่กัน "
- ที่จริงแล้ว มึงถูกถีบแน่
ถ้ามันไม่
          เห็นว่ากูนั่งอยู่ด้วย  (ที่มึงไม่ถูกถีบ ก็เพราะเขาเกรงใจกู)

         
"ยิ่ง หมี นะ " - เกือบไปแล้วมั้ยละ
          ( ภาษาไทยถิ่นใต้ บางแห่ง ออกเสียงคำนี้เป็น   
ชิงหมี,   จิง หมี  )

ยืนบาตร (ก.) (พระภิกษุ) ออกบิณฑบาตร
       
" หมังนี้ ต้นมา ยืนบาตร แต่เช้า "
          ในช่วงนี้ หลวงพี่ (หลวงน้า) มาบิณฑบาตร แต่เช้า

ยุง   1. (น.) ยุง - แมลงที่ดูดเลือด      2. (ก.) ดึง, ฉุด 
      
 " ช้างแล่นอย่ายุงหาง "  - ช้างจะวิ่งอย่าไปดึงหาง  ( คนมีอำนาจ  คนที่ความรัก
        บังตา หรือ คนที่หลงลืมตัว   หากได้เริ่มทำอะไรแล้ว ก็ป่วยการที่จะท้วงติง )
       
       
 
ดังตัวอย่าง เพลงร้องเรือ หรือเพลงกล่อมเด็ก ของปักษ์ใต้ ที่กล่าวถึงคำว่า
        
ช้างแล่นอย่ายุงหาง

        อ้า เห้อ เหอ ฟ้าลั่นเหอ    ลั่นมาผ่าไม้ตามชายไส   พี่ชายได้เมียใหม่    ยอดใย
        เจ้าเอ๋ย อย่าหึงสา    ช้างแล่น เจ้าอย่า ยุงหาง   ไม่ใช่ที่ทาง นางกานดา  พลาย
        ทอง หายบ้า หลบมา อยู่โรง   เห้อ   หล่า

          ชายไส     ชายป่าไส
       อย่าหึงสา  อย่าอิจฉา
     
 
พลายทองหายบ้า หลบมาอยู่โรงหล่าว  เมื่อช้างพลายทองหายบ้า(หายตกมัน)
       ก็จะกลับมาอยู่ที่โรงช้าง อีกแน่นอน

ยุด   (ก. ( ออกเสียงเป็น หยุด) ฉุด, เหนี่ยว, รั้ง 
      
 ตัวอย่างเช่น
        
" พี่บ่าวช่วย ยุด กิ่งม่วงให้น้องที น้องอิเก็บโหลกม่วง "
           พี่ชายช่วยเหนี่ยวกิ่งมะม่วงให้หน่อย น้องจะเก็บมะม่วง
       
       
หมายเหตุ :  ยุด ในความหมาย ฉุด, เหนี่ยว, รั้ง สำเนียงใต้ออกเสียงเป็น หยุด
        ส่วนคำว่า หยุด ที่ใช้ในความหมาย ชะงัก, อยู่กับที่, เลิกไม่ทำต่อ  หรือ  stop
      
 สำเนียงใต้  จะออกเสียงเป็น  ยุด

ยุม   (น.)  ยวง
      
 " เรียนโหลกนี้ ยังอยู่ 4 ยุม แต่กะ หรอยดี "
          ทุเรียนลูกนี้ มีอยู่
4 ยวง แต่ก็ อร่อยดี

ยู    (ก.)  ยอ ;  สั่งให้วัวหรือควาย หยุดเดินหรืออยู่นิ่งๆ   
      คนไทยภาคกลางใช้คำว่า ยอ
  แต่คนไทยถิ่นใต้(สงขลา-คลองหอยโข่ง)จะใช้คำ
      ว่า  ยู   เพื่อ
สั่งให้วัวหรือควาย ที่ลากเกวียน หรือลากคันไถ หยุดเดินหรืออยู่นิ่งๆ 

เยียก (  ออกเสียงเป็น เหยียก) (ก.)  เรียก
       
" ไอ้บ่าว เห็นหมึงสอนโหลฺก ให้แหลงบางกอก บอกน้าหลวงที  โหลฺกโทะ หลัง
        บ้านหมึง คนบางกอก เขา เยียก ว่า ผรื่อ
? ความหมายประโยคนี้คือ
       
ไอ้น้อง(ไอ้หนู)เห็นเอ็งสอนลูกให้พูดบางกอก ช่วยบอกน้าหน่อยซิว่า โหลฺกโทะ
        ที่อยูหลังบ้านของเอ็งนะ  คนบางกอก เขาเรียกว่า อะไร
? "


       
นอดีต คนไทยถิ่นใต้(คลองหอยโข่ง - สงขลา) จะใช้คำว่า เยียก ในความหมาย
        เรียก    ปัจจุบัน เด็กใต้รุ่นใหม่จะใช้คำว่า เรียก เช่นเดียวกับคนภาคกลาง   คนที่
        ใช้คำว่า เยียก จึงมักจะเป็นผู้สูงอายุหรือชาวบ้านในชนบทที่ห่างไกลเมือง เท่านั้น


    
       
ข้อสังเกตุ: คำว่า เรียก ในภาษาไทยมาตรฐานนี้  คนไทยโคราช ภาคอีสาน ก็
        ออกเสียงว่า เยียก เป็นเสียง ย
.
เช่นเดียวกันกับคนไทยถิ่นใต้(คลองหอยโข่ง -
       
สงขลา)
 แต่ต่างกันตรงเสียงวรรณยุกต์
      
 ข้อมูลจาก  
เวบไซท์ surveykorat ดอทคอม

แย    (ก.)  หยอก         "ไอ้บ่าว อย่าแยน้อง" - ไอ้บ่าว อย่าหยอกน้อง

แย็ก  (น. แม่แรง, อุปกรณ์ที่ใช้ในการยก,ดีด,งัด ของที่มีน้ำหนักมาก ( มาจาก Jack
        ในภาษาอังกฤษ )

แย็ง   (ว.)  ยับยู่ยี่ , ขาดยับเยิน

แยบ, ไปแยบ    (.) เจรจาทาบทาม บอกกล่าวให้ฝ่ายหญิงทราบ  ก่อนที่จะไปสู่ขอ
       เพื่อหมั้นหมาย  ( การไปแยบนั้น ฝ่ายชาย อาจนำหมากพลู หรือขนมไปด้วยพอ
       เป็นพิธี)

แย้ม (ออกเสียงเป็น แย่ม) (ก.) ค่อยๆเปิดทีละนิด  เช่น ดอกไม้แรกแย้ม,
        
"แย้มไพ่" - ลุ้นไพ่

แยะ   (ก.)  กระแทกลง 
    
"ถ้าทางโขกเขก เป็นหลุมเป็นบ่อ    เดี่ยวกะโถก รถแยะ เจ็บเอวแหละ"
      ถ้า
ทางขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ    เดี๋ยวก็ถูกรถกระแทก เจ็บเอวแน่นอน

แยะขี่นั่ง, แถะขี่นั่ง  (ก.) หกล้มก้นกระแทก (คำนี้ในบางถิ่นใช้เป็น ถอกขี่นั่ง )

ไย    (ก.)เลียนแบบ หรือ ทำตาม  มักใช้เฉพาะการพูดเลียนแบบ  เช่น  คนที่ชอบพูด
         เลียนแบบคนติดอ่าง หรือ
แหลงไย    ผลก็คือ คนที่แหลงไยเพื่อน กลับพูดติด
         อ่างเสียเอง.... 

หยั่ง หยั่ง   (ว.)  มากมาย, ล้นเหลือ
       ตัวอย่าง การใช้คำว่า หยั่ง หยั่ง
      
1. ถาม 
  " ไอ้บ่าว หมึงพอโหร่ม้าย ว่า บ้านหลวงไข ยัง เหล้า มั่งม้าย ? "
        
             ไอ้น้อง  เอ็งพอจะรู้มั้ย ว่า ที่บ้านพี่ไข่ มี เหล้า เก็บไว้บ้างหรือเปล่า
      
2. ตอบ   
" หยั่ง หยั่ง พี่เณร ยังทั้งเหล้า ทั้งหวาก ไปตะ ไม่อดแน่ "
    
                  เหลือเฟือ พี่    มีทั้งเหล้า ทั้งน้ำตาลเมา ไปเถอะ ไม่อดแน่

หยบ   (ก.)  หลบซ่อน  ตัวอย่างเช่น
           
"
ลักหยบ "   ความหมายคือ   แอบไว้ , ซ่อนไว้
           
" นักเลงจริง เขาไม่หยบอยู่หลังเมียหรอก " ความหมายก็คือ นักเลงจริงต้อง
       ไม่หลบอยู่
ข้างหลังเมีย

หยอน   (ว.)  หย่อน (ไม่ตึง)    (ก.) ปล่อยลงไป
      
" หยอนวาน"  
- หย่อนก้น,  นั่ง
     
 " หลวงไข ยังไม่ทันได้หยอนวาน เมียแกโทรศัพท์มาตามให้หลบบ้านแล้ว "
         พี่ไข่(น้าไข่)  ยังไม่ทันได้นั่งเลย เมียแกโทรศัพท์มาตามให้กลับบ้านแล้ว

หยัด  (ก.)  พึ่ง, มอบหน้าที่ให้ทำแทน
           
" งานใหญ่ งานสำคัญ  หยัดให้หลวงไข่ทำ ไม่ได้ซักที "
        งานใหญ่ งานสำคัญ  หวังพึ่งให้หลวงไข่ทำแทน ไม่ได้ซักที
            " หยัดใจ "   - ไว้วางใจ  ตั้งใจ  เชื่อใจ

หยิ่ว  (น.) เหยี่ยว,  นกในวงศ์ Accipitridae มีปากงุ้มและคม ขาและนิ้วตีนแข็งแรง
       เล็บยาวแหลม ปีกแข็งแรง บินร่อนได้นาน ๆ ส่วนใหญ่ล่าสัตว์กินเป็น อาหาร
       คนไทยถิ่นใต้ ออกเสียงเป็น หยิ่ว

หยับ (สำเนียงใต้ออกเสียงเป็น ยับ) (น.) ขยับ,  เริ่มจะ
    
" หยับไปฮีด พี่หลวง อินั่งตรงนี้ "    ขยับไปหน่อย พี่หลวง จะนั่งตรงนี้
   
 "แลๆ แล้ว หลวงไขของเรา หยับ อิ บ้า แล่ว นะ" -  ดูๆแล้ว พี่ไข่ของเรา เริ่มจะบ้า
      แล้วนะ

หยับ โหยฺง (สำเนียงใต้ออกเสียงเป็น ยับ โย้ง) (น.) กระดานหก, ไม้กระดก อุปกรณ์
      ของเด็กเล่น

หย้าม หมันแหละ  วลีนี้ มึความหมายในทำนอง  -   ช่างมันเถอะ

หย๊าม   (น.)  ยาม,  เวลา,  ฤดู    คำนี้ คนไทยถิ่นใต้(สงขลา) มักจะใช้ในความหมาย
        ช่วงเวลาที่ยาวนาน หรือ ฤดูกาล   เช่น    

        " หลบบ้านตะ พี่หลวงเหอ  ถึง
หย๊าม ไถนา แล้ว"
         
หลับบ้านเถอะ พี่    ถึง
ฤดูไถนา (ทำนา) กันแล้ว

หยู๊ม หย๊าม (ว.)  ติดกันพันละวัน ดูรุงรังไปหมด
         
" บ่าวไข เปิบข้าว  กินพักเดียว ทั้งข้าว ทั้งแกงติดมือ หยู๊มหย๊าม "

เหย   (ก.) เดินเขย่ง ไม่เต็มเท้า

โหย   (โย เสียงจัตวา)  (ก.)   อยู่
        
" อยู่หล่อ " ( ออกเสียงเป็น  โหย ล้อ ) ความหมายคือ รูปหล่อ
         " ในอยู่ " (ออกเสียงเป็น  ใน โหย) ความหมายคือ เดี๋ยวนี้, ปัจจุบันนี้, ตอนนี้

     
ในภาษาสงขลามีหลายคำที่เสียง"สระอู"
จะแปลงเป็นเสียง"สระโอ"  ตัวอย่างเช่น
      คู่ 
ออกเสียงเป็น โค่,  ต้นประดู่ ออกเสียงเป็น ต้นโด     หมู่  ออกเสียงเป็น  โหม่
      ปลูก ออกเสียงเป็น  โปลก
 เป็นต้น
 

 



หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท          อ.   =     อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .   =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เพื่อโปรดทราบ   -    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่ง
  เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวมทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติม เพื่อให้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น

 


 

     กลับไปหน้าแรก                                                       หน้าถัดไป    
 
  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549    ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 23/06/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 


 

ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปไอ้หนูนุ้ย
หนังตะลุง : ศิลปะถิ่นใต้

คนซื่อๆ แกมโง่ ผิวดำ  รูปร่างค่อนข้างเตี้ย พุงยาน
โย้คอตก ทรงผมคล้ายแส้ม้า  จมูกปากยื่นออกไป
คล้ายกับปากวัว   มีเครายาวคล้ายหนวดแพะ  ใคร
พูดเรื่องวัวเป็นไม่พอใจ นุ่งผ้าโสร่งแต่ไม่มีลวดลาย
ไม่สวมเสื้อ  ถือมีดตะไกรหนีบหมากเป็นอาวุธ  พูด
เสียงต่ำ  สั่นเครือดันขึ้นนาสิก   ชอบคล้อยตามคน
ยุยงส่งเสริม แสดงความซื่อออกมาเสมอ

 

 

 

 

  

Free Web Hosting