รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ   :   หมวดอักษร   -  ก   หน้าที่ 1   
 
 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -  ก   หน้าที่ 1  )

/   กระโดน   /    กระเช้าสีดา   /   กระทกรก   /   กระบือเจ็ดตัว    /


กระโดน


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Careya sphaerica  Roxb
                        
 
Careya arborea Roxb.  (ชื่อพ้อง)
ชื่อวงศ์
 BARRINGTONIACEAE  /  LECYTHIDACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ 
Tummy-wood,  Patana oak,  Slow match tree
ชื่ออื่น   กระโดนบก, กระโดน( กลาง)   โดน( ใต้),   ปุย,    ปุยกระโดน,

กระโดน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางความสูงประมาณ 8-20 เมตร พบได้ทั่วไปตามริม
ทุ่ง ริมป่าพรุ
กระโดนเป็นต้นไม้ที่มีกิ่งก้านสาขามาก  เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบและ
กิ่งดกแน่นทึบ ลำต้นสีเทา เปลือกลำต้นหนาและแตกออกเป็นแผ่นๆ
    ดอก ดอกสี
ชมพูแกมขาว มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ
 รูปขอบขนาน
หรือรูปไข่ ยาวประมาณ 1 ซม.กลีบ
ดอกรูปซ้อนกว้างประมาณ 3 ซม. ยาวประมาณ 4 ซม.มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก  ดอก
ร่วงเร็ว 
  ผล ผลกลมแข็งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-7 ซม.

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  
ยอดอ่อน  ดอกอ่อน
 และผลอ่อน เป็น"ผักเหนาะ" กินกับอาหารที่มีรสเปรี้ยว  เช่น
แกงส้ม หรือกินกับขนมจีนน้ำยา จะได้รสชาติมาก
 เปลือก มีรสฝาด โบราณใช้เป็น
ยาสมานแผล
 ยางจากเปลือกใช้ทาเชือก ช่วยให้เชือกทน
ทาน   ผลอ่อน (ปักษ์ใต้
เรียกว่า "เขือโดน")
เป็นยาช่วยย่อยอาหาร  ดอกเป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร
 

หมายเหตุ
ข้อมูล
เกี่ยวกับประโยชน์ของ กระโดน  - นจ. 
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กระโดน ได้จากเวบไซท์
  /    World Agroforestry Centre  /     Thai Herb Dtabase    /

 



กระ
เช้าสีดา

   
กระเช้าสีดา  พร้อม ผลอ่อน

 
ผลแก่ที่แห้ง จะแตกออกเป็นรูปกระเช้าเล็กๆ
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Aristolochia acuminata Lam.
 
(ชื่อพ้อง -  Aristolochia  indica var. magna,    Aristolochia tagala Cham.)
ชื่อ
วงศ์   ARISTOLOCHIACEAE  
ชื่อภาษาอังกฤษ 
Native Dutchman' Pipe,     Birthwort
ชื่ออื่น    กระเช้าสีดา(ภาคใต้),     กระเช้าผีมด,  กระเช้ามด(ภาคกลาง),  
                Timbangan ( ฟิลิปปินส์ ),

กระเช้าสีดา หรือ กระเช้าผีมด   เป็นไม้เถาล้มลุกในวงศ์  ARISTOLOCHIACEAE
(วงศ์
ไก่ฟ้า)  ที่ทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและเกี่ยวพันต้นไม้อื่น  ลำต้น(เถา)เกลี้ยงมี
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
3 ซม.  ใบ เดี่ยวเรียงสลับ สีเขียวเข้ม รูปหัวใจ  ยาว 9 -
28 ซม. กว้าง 4.5 - 16.5 ซม.ปลายใบแหลม โคนใบเว้า เส้นใบบุ๋มลึกลงในใบเล็ก
น้อย โดยทั่วไปจะมีเส้นใบ
3 -5 คู่ แผ่จากโคนใบและเส้นใบกลาง  ก้านใบยาว 2 -
6 ซม.    ดอก เป็นช่อกระจะ แยกแขนงสั้นๆออกตามซอกใบ ช่อดอกยาวประมาณ
6 ซม . ก้านดอกยาว 0.6-0.7 ซม.  ดอกมีขนาดเล็ก สีครีมอ่อนอมสีเขียวด้านนอก
ภายในหลอดกลีบ
สีน้ำตาลแดง  ปากหลอดกลีบรูปทรงกระบอกแคบๆยาว 0.8-1.6
ซม. งอขึ้นเล็กน้อย   ปลายกลีบบานออกรูปขอบขนาน  รูปใบหอก  หรือรูปใบพาย
ปลายมนยาว
1.3-1.8 ซม.   โคนหลอดกลีบ เป็นกระเปาะรูปไข่ หรือเกือบกลมยาว
0.4-0.8 ซม. เกสรเพศผู้มี 6 อันแนบติดก้านเกสรเพศเมียเป็นเส้าเกสรยาวประมาณ
0.2 ซม.  รังไข่ติดใต้วงกลีบมี 6 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียรูปกรวยมี 6 แฉก   ผล รูป
ไข่กว้าง
 มีสันตามแนวยาวของผล 6 สัน  ผลยาว 4 - 4.5 ซม. ผลแห้งจะแตกออก
โดยที่
โคนก้านและปลายผล จะติดกันคล้ายกระเช้า ก้านผลยาว 3 - 6 ซม.  เมล็ด
ภายในผลเป็นรูปสามเหลี่ยมหัวใจ บางๆ ขนาด
0.8-0.9 x 0.6-1 ซม. มีปีกบางๆสีน้ำ
ตาล ยาว
0.1- 0.2 ซม. ติดอยู่กับเมล็ด ปีกที่ติดอยู่กับเมล็ดนี้ จะช่วยกระจายเมล็ด
แห้งที่แตกออกจากกระเช้า ให้ปลิวลอยตามลม ไปงอกเป็นต้นใหม่

ลักษณะทางนิเวศน์   กระเช้าสีดา ( Aristolochia acuminata Lam.) เป็นไม้เถา
ล้มลุกที่เจริญเติบโตได้ดี
 ทั้งที่มีแสงแดด และในที่ๆมีแสงแดดน้อย  หรือในร่มเงา
ต้นไม้ใหญ่  ตามธรรมชาติจะกระจายพันธุ์ในป่าดิบร้อนชื้น และป่าเขตมรสุม ตั้งแต่
ระดับน้ำทะเล จนถึงระดับ
500 เมตรจากระดับน้ำทะเล  โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่ จีน
ตอนใต้,  อินเดีย,  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เกาะนิวกีนี,  ออสเตรเลีย(ภาคเหนือ),
จนถึง หมู่เกาะโซโลมอน ในมหาสมุทรแปซิฟิก   ในประเทศไทย จะพบเห็นกระเช้า
สีดาพันธุ์นี้ ได้ในเขตจังหวัด สุราษฎร์ธานี
, ภูเก็ต, นครศรีธรรมราช ตรัง,  สงขลา,
เชียงใหม่
, ตาก, จันทบุรี, กาญจนบุรี,

( ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เดิมจะพบเห็นตามธรรมชาติได้ในแถบ บ้าน
วังพา บ้านวังเชียด  ตำบลทุ่งตำเสา,      บ้านม่วงค่อม(ริมคลองนนท์) ตำบลควนลัง
ในเขตอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จะพบเห็นได้บริเวณป่าเขาวังชิง ปัจจุบัน
จะหาได้ยาก เนื่องจากป่าธรรมชาติได้แปรสภาพเป็นสวนยางพารา )

การขยายพันธุ์  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือ ตัดเถานำมาปักชำ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  
ราก
(บดเป็นผง)  ใช้เป็นยาสมุนไพรบำรุงร่างกาย,   ใช้ทาท้องเด็กเล็กเป็นยาขับลม
ในกระเพาะ แก้อาการท้องอืด       ใบ  (ตำให้ละเอียด)  หมอพื้นบ้านของมาเลเซีย
ใช้โปะปิดหน้าผากเป็นยาลดไข้     ในประเทศอินเดีย และอินโดนีเซีย หมอพื้นบ้าน
ใช้ทาท้องเด็กเล็ก  เป็นยาขับลมในกระเพาะ แก้อาการท้องอืด    ในประเทศจีน ใช้
เป็นยาแก้ท้องเสีย, แก้เครียด, และเป็นยาพอกแก้อาการปวดบวม

   

หมายเหตุ
   1.  สกุลกระเช้าสีดา ( Aristolochia )ทั่วโลกมีทั้งหมดประมาณ 400 ชนิด ทั้ง
หมดจะ
กระจายพันธุ์ในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน  โดยจะ
สามารถพบได้ในภูมิภาคอิน
โดจีนและในเอเชียใต้ ในประเทศไทย พบกระจายทั่วทุกภาค ดังนี้

 
    - กระเช้าสีดา
หรือ กระเช้าถุงทอง  (
Aristolochia pothieri Pierre ex
Lacomte
)ขึ้นตามที่โล่ง ในป่าเต็งรัง  ป่าเบญจพรรณ, ป่าดิบแล้ง เขาหินปูนระดับ
ความสูง
100-400 เมตร  จากระดับน้ำทะเล
      -
กระเช้าสีดา หรือ กระเช้าคลองพนม   ( Aristolochia  kongkandae
Phuph.
พบที่เขาสกและคลองพนม  สุราษฎร์ธานี  ตามหน้าผาหินปูนที่แสงแดด
ส่องถึงได้เล็กน้อย ในระดับความสูง
100-200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
 
    - กระเช้าสีดา หรือ กระเช้าผีมด( Aristolochia acuminata Lam.) กระจาย
พันธุ์ในป่าดิบร้อนชื้น และป่าเขตมรสุม ตั้งแต่ระดับน้ำทะเล  จนถึงระดับ
500 เมตร
จากระดับน้ำทะเล    กระเช้าสีดาพันธุ์นี้ พบมากได้ในเขตจังหวัดภาคใต้,   จันทบุรี
,
กาญจนบุรี เชียงใหม่, ตาก,
   2.
ในธรรมชาติ ใบของพืชในตระกูลกระเช้าสีดา ( Aristolochia ) เป็นอาหารของ
ตัวหนอนผีเสื้อชนิดต่างๆโดยเฉพาะ
ผีเสื้อถุงทอง   ดังนั้น เมื่อพืชในตระกูลกระเช้า
สีดาตามธรรมชาติมีน้อย   เนื่องจากการทำลายป่า
ทำให้หนอนผีเสื้อขาดอาหาร จึง
อาจส่งผลให้ผีเสื้อถุงทอง สูญพันธุ์ไปจากป่าเมืองไทยได้ ในอนาคต

   3. ข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า  รากและเหง้าของพืชสกุลกระเช้าสีดา( Aristolochia )
ประกอบด้วยสาร
Acid Aristolocik, Aristolochine ซึ่งสารดังกล่าว หากรับประทาน
จะเป็นพิษและมีผลต่อระบบการทำงานไต อาจทำให้ปวดท้องอาเจียน หรือ ท้องเสีย
ท้องร่วงได้
  ดังนั้น จึงควรระมัดร
ะวังในการใช้กระเช้าสีดา เป็นยาสมุนไพรประเภท
รับประทาน

  
4. ชื่อ กระเช้าสีดา นี้  กลุ่มนักเพาะพันธุ์ไม้ประดับรุ่นใหม่  ได้นำไปเรียกพืชใน
ตระกูลเฟิร์น
(ชายผ้าสีดา) ว่า กระเช้าสีดา เช่นกัน    ดังนั้น เพื่อความถูกต้องกรุณา
เปรียบเทียบ ความแตกต่าง ในหัวข้อ 
ชายผ้าสีดา


   5.
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กระเช้าสีดา ได้จากเวบไซท
/   Flora&Fauna-web     /    Philippine-Alternative-Medicine   /
/  
Australia Tropical Rainforrest Plants    /  All-About-Racun  /

 


กระทกรก


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Passiflora foetida Linn.    วงศ์   PASSIFLORACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ  
 Love-in-a-mist,   Running pop
ชื่ออื่น
  
โผะค่าง(คลองหอยโข่ง- สงขลา),   หมอยค่าง( ระโนด -สงขลา)
            รกช้าง(พังงา)
  ไข่โต๊ะหวัง(สตูล), กระโปรงทองตำลึงฝรั่ง,  เถาะเงาะ,
            
หญ้าถลกบาต,  ละพุบาบี (ปัตตานี),  

กระทกรกเป็นพืชประเภทไม้เถาเลื้อยมีมือเกาะเกี่ยวต้นไม้อื่น ลำต้น กลมสีเขียวมี
ขนสีทอง
อ่อนนุ่ม เหนียวๆ ปกคลุมทั่วไป   ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ขอบใบเว้า
เป็น
3 แฉกและเป็นจัก ปลายแหลมใบกว้างประมาณ 4 ซม. ยาว 5 ซม
ที่ผิวใบจะมี
ขนอ่อน  เมื่อจับดู จะรู้สึกสากๆเหนียวๆ    ดอก เป็นดอกเดี่ยวสีขาว  วงในลักษณะ
เป็นเส้นกลมสีม่วงที่โคน ปลายสีเทา 
มี "รก" เป็นเส้นฝอยเล็กๆสานหุ้มดอก สีเขียว
อ่อน
   ผล กลมสีเขียวอ่อน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. เมื่อสุก ผลจะเปลี่ยน
เป็นสีเหลือง
-สด  และ"รก"ที่หุ้มผล จะเปลียนเป็นสีเหลือง 

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ยอดอ่อน ผลอ่อน และรกที่หุ้มผลอ่อน
ของกระทกรก  นำมาต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก
หรือใช้เป็นผ้กแกงเลียง
   ผลสุก มีรสเปรี้ยว กินได้


ปัจจุบัน ได้พบว่า"รก"ที่หุ้มดอกและผลของ กระทกรก มียางเหนียวๆที่ทำให้แมลง
ตัวเล็กๆ  ติดอยู่ใน "รก" ไม่สามารถออกไปได้  
 และในยางเหนียวดังกล่าว ยังมี
เอ็นไซม์ที่สามารถย่อยโปรตีนได้ แต่มีปริมาณที่น้อยมาก จนไม่แน่ใจว่ากระทกรก
จะดูดสารอาหารจากแมลงเล็กๆที่ตายนั้น ได้มากน้อยแค่ไหน  จากข้อมูลดังกล่าว
นักพฤกษศาสตร์ จึงจัดให้ กระทกรก อยู่ในกลุ่มพืชที่อยู่ระหว่างวิวัฒนาการไปเป็น
"พืชกินสัตว์" ( Protocarnivorous plant ) 
 

หมายเหตุ
ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของ กระทกรก  - นจ. 
ดู
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กระทกรก ได้จากเวบไซท์
   
/    Flowers  of  India  /    WIKIPEDIA    /


กระบือเจ็ดตัว กระทู้เจ็ดแบก


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด ( สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Excoecaria  cochinchinensis  Lour.
ชื่อวงศ์   EUPHORBIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ     
Chinese Croton
ชื่ออื่น    ควายเจ็ดตัว,   กะเบือ,  กำลังกระบือ,   ลิ้นกระบือ,   บัวรา(ภาคเหนือ),
            
ควายเจ็ดตัวไม้ทู้เจ็ดแบก(สงขลา),  ใบท้องแดง(จันทบุรี)

กระบือเจ็ดตัว   เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 0.75 - 1.5 เมตร   ทุกส่วนมียางขาวเหมือน
น้ำนม
 ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนรอบกิ่ง รูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่
ปลาย
ใบแหลม โคนสอบ ขอบใบจักฟันเลื่อย
กว้าง 1.5 - 4.5 ซม.ยาว 4 - 13 ซม.หลังใบ
สีเขียว ท้องใบสีแดง-ม่วง
  ดอก  ดอกช่อสีเหลือง ออกที่ปลายกิ่งแยกเพศช่อดอก
ตัวผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก
โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยง 3
กลีบ เล็กมาก เกสรเพศผู้เล็กมาก มี 3 อัน ช่อดอกเพศเมียสั้นกว่าช่อดอกเพศผู้และ
มีดอกเล็กๆ 3 - 6 ดอก ก้านดอกยาว 2-5 มม. โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ และมี
ต่อมเล็กๆ สีเหลือง  กลีบเลี้ยงเล็ก มี 3 กลีบ รูปไข่   รังไข่เล็ก สีเขียวอมชมพู มี 3
ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 3 อัน ผลเล็ก ค่อนข้างกลม มี 3 พู

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใบ
- ใช้ใบสดตำผสมกับเหล้า คั้นน้ำ กินเป็นยาขับเลือด  ขับน้ำคาวปลา
  แก้อาการ
เป็นพิษ หรืออาการอักเสบในสตรีหลังคลอดบุตร  
นอกจากนี้ใบยังมีสรรพคุณแก้ไข้ แก้บวม ฟกช้ำดำเขียว แก้พิษบาดทะยัก   กระพี้และเนื้อไม้ เป็นยาลดไข้ ถอนพิษ
ยาง  ใช้เป็นยาเบื่อปลา

(จากสรรพคุณของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ ที่มีประโยชน์มากมาย  โดยเฉพาะ สรรพคุณยาที่
ใช้ในการรักษาดูแล
สตรีหลังคลอดบุตร ซึ่งถือเป็นช่วงที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายที่สุดของ
เพศแม่ทุกคน ดังนั้นแพทย์แผนไทยในสมัยก่อน ของทุกชุมชน จะต้องปลูกพันธุ์ไม้
ชนิดนี้ไว้ เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน  เรียกได้ว่า เป็นสมุนไพรที่มีความสำคัญมากมีค่าสูง
เทียบได้กับ "ควายเจ็ดตัว" หรือเปรียบได้กับ"ไม้กระทู้ เจ็ดแบก" ซึ่งมากพอที่จะนำ
มาทำเป็นรั้วกั้นรอบบ้านเรือนของเราได้ เป็นการป้องกันภัยไว้ก่อน พันธุ์ไม้นี้จึงมีชื่อ
เรียกขานเต็มๆ แบบไทยแท้ ว่า  " ควายเจ็ดตัว ไม้กระทู้เจ็ดแบก " )

หมายเหตุ
- ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์และที่มาของชื่อ กระบือเจ็ดตัวฯ  - นจ. 
- ดู
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กระบือเจ็ดตัวฯ  ได้จากเวบไซท์
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี




   หน้าแรก                          หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้    หน้าถัดไป    
 
 
ปรับแต่งข้อความเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 

 

เกร็ดความรู้ที่บอกต่อ

ตำรายาอายุวัฒนะ

1.สาวดุ้งทุ้งฟ้า
2.คุระ-เปรียะ
3.เข็มแดง
4.ต้นตายปลายเป็น
5.ย่านเอ็นสี
6.ขี้เหล็ก
7.ตำเสา
8.เหร็ด-หนู

จากคำบอกเล่าของ หัวหน้าศิริวัฒน์  รัตนมุณี
เรือนจำจังหวัดสงขลา เมื่อ ปี 2536 (ปัจจุบัน
หัวหน้าศิริวัฒน์ เป็นข้าราชการบำนาญ)

ตำรายานี้ เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ที่จำเป็นจะ
ต้องศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะพิกัดยาที่เราจะ
ต้องเจียดยา  ในปริมาณและน้ำหนักเท่าใดจึง
จะได้ผล
ดังนั้นผู้ที่สนใจในเรื่องสมุนไพรไทย
ทั้งหลาย ควรที่จะค้นคว้าเพิ่มเติม ต่อไป

 

 

  

Free Web Hosting