คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด  -     ห  )  หน้า 2
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -    ห   ) หน้า 2


หัวนอน  (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น  ฮั้ว น่อน ) (ว.) ทิศใต้  
         
" ข้างหัวนอน,  ประหัวนอน"  
-  ด้านทิศใต้, ทิศใต้
          คำว่า หัวนอน ในภาษาไทยถิ่นใต้ ที่ใช้ในความหมาย ทิศใต้ นี้ มีปรากฎ
          ในหลักศิลา
จารึกที่  1  สมัยสุโขทัย ความว่า  
             
“เบื้องหัวนอน  รอดคนธี  พระบาง  แพรก  สุพรรณภูมิ  ราชบุรี  เพชรบุรี
          ศรีธรรมราช
 ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว” 

          ความหมายคือ ทิศใต้(ของสุโขทัย)
รอดคนธี พระบาง  แพรก สุพรรณภูมิ
          ราชบุรี
    เพชรบุรี  ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว

             (เปรียบเทียบความหมาย ของ " ตีน , ข้างตีน " ประกอบด้วย)

หัวนา  (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น  ฮั้ว น่า )  (น.)  คันนา

หัวบอน (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น  ฮั้ว บ๋อน )  (น.)  เผือก

หัวรุ่ง  (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น  ฮั้ว หรุ่ง )  (ว.) เวลาใกล้สว่าง (ดวงอาทิตย์ยัง
         ไม่ขึ้น)

หัวหมู, หัวไถ (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น  ฮั้ว มู้ , ฮั้ว ไท้ ) (น.)ส่วนของอุปกรณ์
         ที่ใช้ในการ
พลิกหน้าดินของชาวนา  ซึ่งะติดใบมีด (ผาน)ไว้ตรงหน้าสุด  เมื่อ
         ถูกวัวหรือควายลาก หัวหมู ก็จะแทรกลงไปในหน้าดิน( กินดิน)
และพลิกหน้า
         ดินกลบกอหญ้าไว้ใต้     ( กระบวนการนี้ เรียกว่า การไถนา )

 หัวหิ้ง (ว.) ที่เป็นของสุดรัก สุดหวง หรือเป็นของที่มีความสำคัญมาก
        ( เมื่อรักมาก หรือมีความสำคัญมาก จึงจำเป็น จะต้องเก็บรักษาสิ่งของดังกล่าว
        ไว้อย่างดี บน"หัวของหิ้ง" )

        " เพลงชุดนี้ ถือได้ว่าเป็นเพลงหัวหิ้ง ของ เอกชัย ศรีวิชัย "
        
เพลงชุดนี้ ถือได้ว่าเป็นเพลงสุดรักสุดหวง ของ เอกชัย ศรีวิชัย "

หึงสา  (ก.)  อิจฉา, ไม่อยากให้คนอื่นดีกว่าตัวเอง
        คำนี้ ความหมายตามตัวหนังสือ คือ เบียดเบียน, คิดทำให้ผู้อื่นเกิดทุกข์ แต่ใน
        ภาษาถิ่นใต้มักใช้ในความหมาย อิจฉา  ริษยา (
ไม่อยากให้คนอื่นดีกว่าตัวเอง)

หืด (ก.)  หายใจเข้า

หูเป็นช้างท้อง,  หูเป็นถ่างท้อง ( น.) ช่องหูอักเสบ เรื้อรัง มีน้ำหนองไหล และมี
     
    กลิ่นเหม็น มักจะเป็นกับเด็กๆที่เล่นน้ำในห้วยหนองคลองบึงที่มีน้ำสกปรก
    
     (
คำนี้ในบางถิ่น จะออกเสียงเป็น  
" หูเป็นถ่างทื่ง " )

เห็ง     (ก.)   ทับ, กดอยู่ข้างบน
       
      
 " ตาล่อเหมือนหมาครก เห็ง - ตาถลนเหมือนหมาที่โดนครกทับ 
         กรุณาเปรียบเทียบกับคำว่า กดขี่ข่มเหง หรือ ข่มเหงรังแกในภาษากรุงเทพฯ

เห็นดู   (ก.)  สงสาร
        
 " เณรคล้อย เอาแต่เล่นไพ่ เล่นปอ
  แล้วโลกเมีย ของเณรคล้อย อิกินไหร
          น่าเห็นดู จริงๆ " 
        
    เณรคล้อยเอาแต่เล่นไพ่ เล่นโป แล้วลูกเมีย ของเณรคล้อย จะกินอะไร
          น่าสงสาร จริงๆ

เหอ  (ว.)  ใช้ต่อท้ายคำอื่นให้สละสลวย เปรียบได้กับคำ  " จ๋า, เอย " 
           
" พี่หลวงเหอ "  -  พี่หลวงจ๋า
           
" ฝนตกเหอ "    - ฝนตกเอย  (ใช้ในเพลงร้องเรือ หรือในบทกลอนโนรา-
            หนังตลุง
)  

เหิด       (ก.)  แหงน    ( มองไป ในที่สูง)  
             
" เหิด แล ยอดพระธาตุ "  -  แหงน มองยอดพระบรมธาตุ
             
" หมาเหิดแลเครื่องบิน "  -  หมาแหงน มองเครื่องบิน

เหียบ  (ว)  เงียบ , ไม่มีเสียงดัง
        (
ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) ไม่มีเสียง .   แต่จะใช้เสียง  . , ฮ. แทน )

แห    1.  (น.)อุปกรณ์ประมง ใช้จับปลา
        2.  (ก.) กลัว,  ไม่เชื่อง,  ไม่คุ้นคน  (คำนี้จะใช้กับสัตว์เลี้ยงเช่น  วัว  ควาย 
       
สุนัข..  เช่น
            
"
ลูกฮัวตัวนี้แหจัง  ใครเข้าแค่ไม่ได้ "  ความหมายคือ  ลูกวัวตัวนี้ไม่เชื่อง
        (ไม่คุ้นคน
) ใครเข้าใกล้ไม่ได้เลย
       
3.  
(น.) แมลงมีพิษชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้าย"ตัวต่อขนาดเล็ก" สีน้ำตาล-แดง
       
มีพิษน้อยกว่า
ตัวต่อ รังของ"แห"คล้ายรังของตัวต่อ แต่มีขนาดเล็ก "แห" จะ
        ออกหากินเวลากลางคืน
แต่ตัวต่อ จะออกหากินเวลากลางวัน

แหง   (น. แห่ง , สถานที่
       
 
"รู้แหง" (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น โหร่ แหง)
(ก.) รู้จักสถานที่, รู้เส้นทาง
         ที่จะไป,จะมายังสถานที่นั้น ได้ดี

     
       
" เบอะ พี่ไม่รู้แหงบ้านน้องที  แล้วพี่อิไปหาน้องได้ ผรื่อ
? "
          ก็พี่ยังไม่รู้ว่าบ้านของน้องอยู่ไหน 
แล้วพี่จะไปหาน้องได้ อย่างไร ?

โหนอน,  เหานอน  (ก. ง่วงนอน

โหะ   (ว.)  ผุพัง  ชำรุดทรุดโทรม
          
" หนำในสวนยาง โหะ หมดแล้ว หลังคา กะรั่ว อิ นอนผรื่อเล่า "
        
ขนำในสวนยาง พังหมดแล้ว หลังคาก็รั่ว แล้วจะนอนได้อย่างไร

 



หมายเหตุ
 

   ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท       อ.    =     อุทาน

-    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด ขออนุญาตยึดภาษาสงขลาสำเนียงคลองหอยโข่ง
เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น รวม
ทั้งสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ใน
จังหวัดอื่นๆมาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพื่อโปรดทราบ


     กลับไปหน้าแรก                                                        หน้าถัดไป    
 
  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549       ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 04/04/2557
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 



 

 

  

Free Web Hosting